หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยการออกเสียงประชามติตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอซึ่งมีมาตราที่น่าสนใจอยู่ 3 มาตราคือ มาตรา 10 การจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นโดย กกต.จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดเสวนา ขณะเดียวกันหน่วยงานอื่นก็สามารถจัดได้แต่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฏหมาย มาตรา 44 การกำหนดรายละเอียดบัตรเสีย ลักษณะบัตรปลอม บัตรไม่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน บัตรที่มีการเขียนข้อความอื่นลงไป และมาตรา 62 สิ่งใดที่กระทำแล้วถือว่าเป็นความผิดกฎหมายประชามติ เช่นการฉีกบัตร การปลุกระดมล้มประชามติ จ้างวานให้ล้มประชามติ รวมถึงกำหนดให้ช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนวันออกเสียงประชามติ ห้ามจัดทำและเปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนหรือ โพลล์ คาดว่าวันที่ออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม
ในที่ประชุมนายนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายได้ชี้แจง ข้อเสนอที่ได้ส่งไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้ที่ประชุมได้รับทราบ โดยมีสาระสำคัญว่า ที่เสนอให้บัญญัติไว้ในบทเพื่อแก้ปัญหาในกรณีประเทศเกิดทางตัน และเพื่อไม่ให้ไม่ให้เสียงของสมาขิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในสภาขัดต่อความรู้สึกของสังคมโดยรวม จึงได้เสนอขอให้มี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว) แบบสรรหาจำนวน 250 คน มีวาระทำงาน 5 ปี ที่มาจากคณะกรรมการคัดสรร และเป็นโดยตำแหน่งเช่น ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ส.ว.ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีแต่มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญและให้ความเห็นหากจะมีการปรับแก้ไข มีหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปยุทศาสตร์ชาติ เพื่อให้ยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปเดินหน้าต่อไปได้ รวมไปถึงมีหน้าที่กลั่นกรองการออกกฎหมาย โดยขอยืนยันว่าไม่ได้มีการสืบทอดอำนาจอย่างแน่นอน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาส.ว. จะต้องเป็นบุคคลที่สังคมไว้วางใจ และต้องไม่มีการสืบทอดอำนาจ
ส่วนอีกประเด็นที่เสนอไปยังกรธ. คือ ในการเลือกตั้งสมัยแรกควรใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือการเสือก ส.ส. แบบสัดส่วนและแบบบัญชีรายชื่อ เพื่ออุดช่องโหว่โดยให้พรรคเล็ก สามารถแข่งขันได้ และประเด็นสุดท้ายคือให้บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งครั้งแรกพรรคการเมืองคงยังไม่ต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะหากพรรคการเมืองบุคคลเพียงแค่พรรคละ 3 คน หากไม่ได้ข้อยุติ จะไม่อาจจะสามารถนำรายชื่อบุคคลนอกเหนือจากนี้เข้ามาได้ และอาจทำให้เกิดทางตัน จึงไม่จำเป็นต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี