*สนช.เริ่มพิจารณา แก้ไขรธน.ประเด็นประชามติ รองวิษณุชี้ นับคะแนนเสียงข้างมากผู้มาใช้สิทธิ์*

10 มีนาคม 2559, 12:11น.


การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. วันนี้ เป็นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นการออกเสียงประชามติ มีผู้แทนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงหลักการและสาระสำคัญในการแก้รัฐธรรมนูญ



นายวิษณุ กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2558 เรื่องการทำประชามติในเวลานั้น แต่เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับก่อนไม่ผ่านความเห็นชอบ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และทำให้การทำประชามติเป็นไปด้วยความราบรื่น



การขอแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้แก้ไขในม.39 เพียงมาตราเดียวซึ่งมีใน 5 ประเด็นคือ การลงประชามติ ซึ่งการพิจารณาว่าการทำประชามติจะผ่านหรือไม่ให้ยึดคะแนนเสียงข้างมากของผู้มาใชัสิทธิ์ซึ่งให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยบัตรเสียและการโหวตโนไม่ถือเป็นคะแนน และผู้ที่มาออกเสียงประชามติต้องมีคุณสมบัตรครบและไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม รวมไปถึงกำหนดให้คนที่มีครบอายุ 18 ปีนับตั้งแต่วันลงประชามติสามารถมาลงคะแนนเสียงได้ ซึ่งจะทำให้คนมีสิทธิในการมาออกเสียงประชามติเพิ่มขึ้นหลายล้านคน เพราะเดิมทีผู้ที่สามารถลงคะแนนเสียงได้จะต้องมีอายุครบ18 ปี นับตั้งแต่เดือนวันที่ 1 มกราคมในปีที่ลงมติเป็นต้นไป



ส่วนการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนได้รับทราบ เดิมบัญญัติไว้ว่าต้องแจกจ่ายร่างฯอย่างน้อยร้อยละ 80 ของจำนวนครัวเรือนประชาชนชาวไทย ให้เปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญให้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทำคำอธิบายสาระคำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดยรูปเล่มขนาดเล็กสรุปสาระสำคัญ และในรูปแบบอื่นๆ เช่นอินโฟกราฟฟิค หรือการ์ตูน แจกจ่ทยประชาชน



นอกจากนี้ยังแก้ไขในประเด็นการตั้งคำถามเรื่องประชามติโดยให้สนช.เป็นผู้ตั้งคำถามภายใน 15 วันเมื่อได้รับร่างรัฐธรรญจาก กรธ. ซึ่งต้องเป็นคำถามที่ต้องนำไปสู่คำตอบเพียงแค่ไม่เห็นชอบเท่านั้น ส่วนกติกาในการลงประชามติ โดยจะต้องทำเป็นกฎหมายโดยออกเป็นพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับกฎหมายทั่วไป โดยขณะนี้รัฐบาลเตรียมการทำร่างพระราชบัญญัติออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม.ในวันอังคารที่15 มี.ค.นี้



สำหรับการประชุมของสนช.จะพิจารณา 3 วาระรวด โดยวาระแรกจะใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย วาระที่ 2 ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน และวาระที่ 3ใช้เรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย

ข่าวทั้งหมด

X