การนัดไต่สวนพยานโจทก์นัดที่ 2 ในคดีจำนำข้าว ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีนี้ ในฐานะจำเลย ฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
ฝยช่วงบ่ายนี้ ศาลฎีกาฯได้เบิก พยานโจกย์ปากที่สอง คือ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) ในฐานประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว โดยการไต่สวน นาย นรวิช หล้าแหล่ง ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามซักค้าน น.ส. สุภา ว่า มีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะขณะนั้นนาย กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ได้แต่งตั้งให้ น.ส.สุภา ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง รวมถึงกล่าวหาว่า น.ส.สุภา ได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ที่กระทรวงการคลัง เมื่อปี 2557 เพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่า พยานมีอคติต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพยายามให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวต่อต่อสื่อมวลชนในทางลบ
ขณะที่ น.ส. สุภา ชี้แจงว่า การได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลังเป็นไปตามขั้นตอนปกติ ส่วนการชุมนุมของ กปปส. นั้น เข้าไปในฐานะรองปลัดฯกระทรวงการคลัง ซึ่งทำหน้าที่เสมือนแม่บ้าน จึงต้องเข้าไปตรวจสอบการชุมนุมที่จัดขึ้นในบริเวณกระทรวงการคลังเท่านั้น ส่วนการให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนยืนยันไม่ใช่การบิดเบือนหรือใส่ร้าย แต่ให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงเท่านั้น พร้อมกันนี้ส่วนตัวได้ท้วงติงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้ต่อรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ตั้งแต่ขั้นหลักการแล้วว่า โครงการนี้อาจจะเป็นเหมือนระเบิดเวลา แต่โครงการนี้ก็ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว กระทรวงการคลังจำเป็นต้องทำตามขั้นตอน รวมถึงการเซ็นอนุมัติโครงการที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน นอกจากนี้รัฐบาล น.ส. ยังใช้รายได้ที่มาจากการขายข้าวไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยนำรายได้ไปดำเนินโครงการต่อแทนการนำไปชดใช้หนี้ที่กู้ยืมมา ส่งผลให้กระทรวงการคลังต้องรับภาระชดใช้หนี้เหล่านั้นต่อเนื่อง จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน ขณะที่ทนายความน.ส.ยิ่งลักษณ์ ท้วงว่าการประกันราคาสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เป็นหนี้ที่รัฐยังชดใช้ไม่หมดเช่นกัน น.ส.สุภา ตอบโต้ว่า เรื่องหนี้ของรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ไม่ทราบรายละเอียด แต่ทราบว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ไม่ยอมชดใช้หนี้ในโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้รัฐบาลปัจจุบันต้องชดใช้.
น.ส.สุภา ชี้แจงหลักเกณฑ์การอนุมัติกู้ยืมเงิน ว่ากระทรวงการคลังจะค้ำประกันให้กับโครงการของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเท่านั้น แต่โครงการรับจำนำข้าว อาจเข้าข่ายโครงการธุรกิจของรัฐบาล ที่กระทรวงการคลังไม่จำเป็นจะต้องชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยที่เกิดจากโครงการ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการช่วยเหลือชาวนาในอดีตจะมีการกำหนดเพดานในการรับซื้อข้าวจากประชาชนไม่เกิน 20 ตันต่อคน แต่โครงการรับจำนำข้าวไม่มีการกำหนดเพดานในการรับซื้อ โดยเปิดโอกาสให้คนรวยสามารถกอบโกยผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ซึงผิดวัตถุประสงค์โครงการ