*ปอท.เตือนสาวๆ อย่าตกเป็นเหยือแก็งโรแมนสแกม หลอกรักออนไลน์*

12 กุมภาพันธ์ 2559, 13:04น.


การรู้เท่าทัน เพื่อรับมือการถูกหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นภัยใกล้ตัวรูปแบบใหม่ และเนื่องด้วยขณะนี้ก็ใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ วันนี้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) จัดงานเสวนาภายใต้โครงการ "ตำรวจไซเบอร์ ฉีกหน้ากากรักออนไลน์ รับวาเลนไทน์" เพื่อต้องการให้ความรู้แก่ประชาชนในสังคม ให้รู้เท่าทันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่นี้  ที่เรียกว่า หลอกรักออนไลน์ หรือ โรแมนสแกม



พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผู้กำกับการ 2 กองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผกก.2 บก.ปอท.) เปิดเผยว่า ภัยอาชญากรรมรูปแบบใหม่นี้ถือเป็นภัยที่มาในสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงทุกคนได้ง่าย โดยวิธีการของคนร้ายกลุ่มนี้ที่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวผิดดำ เช่น ไนจีเรีย มักจะเลือกเหยื่อที่มีหน้าตาดี มีอายุ45-60ปี หรือมากกว่านี้ การศึกษาดี มีฐานะมั่นคง รวย ซึ่งโจรกลุ่มนี้มักจะเฝ้าจับตาพฤติกรรมของเหยื่อผ่านทางสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค หรือ ไลน์ ที่มักจะชอบโพสต์โชว์ โพสต์ การใช้ชีวิตที่หรูหรา โชว์เพื่อนฝูงเกี่ยวกับฐานะและชีวิตของตัวเอง ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนที่คนร้านมักใช้เป็นช่องทางในการจับตาดู และหลอกเหยื่อ



จากนั้นคนร้ายกลุ่มนี้ก็จะเข้ามาติดตาม พูดคุยด้วย โดยสร้างโปรไฟล์ที่มักจะเป็นรูปบุคคลที่หน้าตาดี ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นชาวยุโรป หรืออเมริกัน โดยมีฐานะ หน้าที่การงานดี เช่น อาจหลอกว่าเป็น หมอ ทหาร นักธุรกิจ หรือวิศวกรฯ จากนั้นก็จะเข้ามาคุยกับเหยื่อ



โดยการพูดคุยจะทำทีว่าชอบ และตกหลุมรัก ในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจะขอแต่งงานรวมถึงจะเรียกเหยื่อว่าที่รัก ตลอด เพื่อง่ายต่อการเรียกชื่อเหยื่ออีกหลายๆคน ในชื่อเดียวเพื่อจะได้ไม่ผิดตัว รวมถึงจะใช้รูปโปรไฟล์ที่เป็นบุคคลหน้าตาดี และเมื่อเหยื่อขอให้มีการแสดงหน้าตาผ่านกล้อง มักจะบ่ายเบี่ยง ไม่ยอมเปิดกล้อง หรือยอมมาพบ โดยอ้างสาเหตุต่างๆ  นอกจากนี้เมื่อพูดคุยกันไปได้สักพัก ก็จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดการสงสาร หรือ เช่น อาจบอกว่าป่วย หรือคนในครอบครัวป่วยต้องใช้เงิน รวมถึงขอยืมเงินหรือชวนร่วมลงทุนทางธุรกิจด้วย และบางครั้งบอกว่าจะมาแต่งงานด้วย แต่ระหว่างมาอาจติดปัญหาหลายอย่าง และขอให้เหยื่อส่งเงินไป หรือเมื่อคบกันมาได้สักระยะจะเริ่มมีการหลอกลวงเหยื่อให้ทำกิจกรรม เซ็กซ์ออนไลน์  เพื่ออัดวีดีโอไว้และนำมาแบล็กเมล์ และนำหลักฐานนี้มาเรียกเงินจากเหยื่อ ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่โจรกลุ่มนี้มักใช่หลอกเงินจากเหยื่อ



ทั้งนี้ ผู้กำกับการ 2 กองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อธิบายถึงวิธีการระวัง หรือป้องกัน ว่า อยากให้ทุกคนพึงรู้เท่าทัน และหมั่นระวังตัว เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหนื่อของโจรกลุ่มนี้ ซึ่งควรตรวจสอบสถานะ ของผู้ที่คุยด้วยอย่างละเอียด หรือถ้าผู้ที่พูดคุยขอให้มีการโอนเงินให้ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน



ด้านพ.ต.อ.ภาณุวัฒน์ ร่วมรักษ์ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) เปิดเผยว่า มิจฉาชีพกลุ่มนี้มักจะมีการศึกษา เรื่องจิตวิทยามาเป็นอย่างดี จึงสามารถพูด ให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่เจอเหตุการณ์อย่างนี้ ควรตรวจสอบรายละเอียดของผู้ที่มาพูดคุยให้แน่ชัด



อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องนี้ ปี2558 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รับแจ้งความไว้ทั้งสิ้น 80คดี แต่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ต้องได้ 20คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชายต่างชาติผิว ดำ  ซึ่งส่วนใหญ่จะมาดำเนินการในไทย และส่งเงินไปต่างประเทศ ซึ่งตำรวจสามารถดำเนินคดี ในข้อหา ฉ้อโกง และผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบเท่านั้น  แต่ถึงอย่างไรวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทุกคนควรเฝ้าระวัง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของบุคคลกลุ่มนี้



ผู้สื่อข่าว:วิรวินท์ ศรีโหมด



 

ข่าวทั้งหมด

X