นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ รองประธานหอการค้าไทย ที่ปรึกษาทีมเจรจาฝ่ายไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า ข้อเสนอใหม่ของไทย อาจช่วยลดภาษีนำเข้าและอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐประมาณ 10,000 รายการ คาดหวังว่าภาษีศุลกากรขั้นสุดท้ายต่อไทย จะกำหนดไว้ในช่วง 18-20% ซึ่งลดลงจากระดับที่ทรัมป์ประกาศไว้ล่าสุดที่ 36% มั่นใจว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ก่อน 1 ส.ค. เราใกล้ถึงเส้นชัยแล้ว นี่คือสงครามการค้าโลก ไม่ใช่สงครามทวิภาคี อย่า
นอกจากนี้ข้อเสนอใหม่ ซึ่งเป็นข้อเสนอครั้งที่ 3 จะส่งผลให้ มูลค่าการเกินดุลการค้าของประเทศไทยที่มีต่อสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันที่ 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่านั้น จะลดลงได้ถึง 70% ใช้ระยะเวลาภายใน 3 ปี นอกจากนี้จะทำให้เกิดการสมดุลการค้าของทั้งสองประเทศเร็วขึ้นกว่าเดิมเป็นภายในระยะเวลาห้าปีจากเดิมที่จะใช้เวลานาน 7-8 ปี
สิ่งที่เราจะนำเสนอนั้น อาจมากกว่าอินโดนีเซียและเวียดนาม เนื่องจากเราเป็นประเทศผู้ผลิต เราจึงมีศักยภาพที่จะใช้สินค้าสหรัฐได้มากขึ้น และแปรรูปเป็นสินค้าส่งออก
ไทยเป็นหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเร่งเงื่อนไขกับสหรัฐ การไม่สามารถลดภาษีนำเข้า จากตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 18% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยในปีที่แล้ว อาจส่งผลให้การส่งออกลดลงอย่างมาก และอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกลดลงถึง 1%
ทรัมป์ ประกาศข้อตกลงเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเวียดนาม 20% และอินโดนีเซีย 19% แม้ว่าการขนส่งสินค้าผ่านทั้ง 2 ประเทศ จะต้องเผชิญกับการเก็บภาษีที่สูงขึ้น โดยไทยได้เร่งปรับปรุงข้อเสนอใหม่โดยด่วน หลังจากทรัมป์ประกาศภาษี 36% ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ หลังจากทีมไทยยื่นข้อเสนอรอบที่ 2 ไป ซึ่ง นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง คาดหวังภาษีที่ต่ำกว่านี้
สำหรับ ข้อเสนอใหม่ของไทย อาจรวมถึงการยกเว้นภาษีสำหรับบริการดิจิทัลของสหรัฐฯ ที่ดำเนินการในประเทศไทยหรือให้บริการลูกค้าชาวไทย นอกจากนี้ยังอาจให้คำมั่นสัญญาว่าจะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องบินของบริษัทโบอิ้ง และผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรกรรมสำคัญของสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้ลงคะแนนเสียงให้ทรัมป์ โดยคาดว่า อาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรราคาถูกจากสหรัฐ จะช่วยลดต้นทุน
#แฟ้มภาพ
#สงครามการค้า
#ไทยสหรัฐ