ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพเรดาร์ เช้าตรู่วันนี้ (7/7/68) ทั่วไทยท้องฟ้ามีเมฆมาก เมฆและฝนปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก
อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น)
ในช่วงต้นเดือน (7-12 ก.ค.68) ยังฝนบางพื้นที่ยังตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ส่วนอีสานตอนล่าง ภาคกลาง (กทม.ปริมณฑล) และภาคตะวันออก ยังมีฝนตกบางพื้นที่ การกระจายยังไม่สม่ำเสมอ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันในบางวัน แต่ยังไม่ถึงทิ้งช่วง(ปริมาณฝนน้อย) พื้นที่ที่ยังต้องระวังฝนตกสะสมเป็นพิเศษคือในบริเวณภาคเหนือตอนบน (ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน) ภาคอีสานตอนบน (เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี) เป็นพื้นที่ใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาฝนในบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบนยังตกต่อเนื่อง ทำให้ดินอิ่มตัว แม้ปริมาณฝนปานกลางก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลากได้ ยังเป็นปรากฎการณ์ปกติในช่วงฤดูฝน บางพื้นที่ฝนมาก บางพื้นที่ฝนน้อย (ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมเบาและแรงสลับกันไป ส่วนภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต) และภาคตะวันออก (ด้านรับมรสุม) จ.จันทบุรี ตราด ยังมีฝนเพิ่มขึ้นบ้างยังต้องระวังฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังปานกลาง บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ชาวเรือเดินเรือด้วยความระวัง
ส่วน 13 - 19 ก.ค.68 ฝนน้อยลงในบริเวณประเทศไทยตอนบน แต่ยังมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ยังต้องระวังฝนตกสะสมและน้ำท่วมฉับพลันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับพายุโซนร้อน "ดานัส (DANAS) " (เป็นพายุลูกที่ 4 จากการยับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือ(ทิศทางไปทางช่องแคบไต้หวัน) ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรง แต่อาจจะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงนี้มีกำลังแรงขึ้นบ้าง แจ้งเตือนท่านที่จะเดินทางไปเกาะไต้หวัน หรือประเทศจีนทางด้านตะวันออกช่วง 7-9 ก.ค.68 อาจมีอากาศแปรปรวน เพื่อความปลอดภัย ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง (ข้อมูลหรือสถานการณ์นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ)