นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1 ปี 2568 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2568 ขยายตัวได้ 3.1% ต่อเนื่องจากการขยายตัว 3.3% ในไตรมาสที่สี่ของปี 2567 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2568ขยายตัวจากโตรมาสที่สีของปี 2567 0.7%
โดยเศรษฐกิจในไตรมาสนี้มาจากด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและการลงทุนภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลชะลอตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่อง
ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 - 2.3 (ค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 1.8) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายลงทุนภาครัฐ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568
รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของของการบริโภคภาคเอกชน ท่ามกลางอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง
อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปียังมีข้อจำกัดจากภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มชะอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก และผลกระทบจากการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ รวมทั้งความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคเกษตร
ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคจะขยายตัวร้อยละ 2.4 และการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 1.8 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.0 - 1.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดลร้อยละ 2.5ของ GDP
สำหรับความเสี่ยของเศรษฐกิจในปีนี้ยังมาจากเศรษฐกิจภายนอกโดยเฉพาะปริมาณการค้าโลก ที่จะลดลงจากความไม่แน่นอนเรื่องของการเจรจาการค้าหลังสหรัฐฯขึ้นภาษี การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ขณะที่ในประเทศมีความเสี่ยงจากเรื่องของหนี้ครัวเรือน คุณภาพสินเชื่อต้องจับตาและต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้มีการเพิ่ม NPL ภาคเกษตรยังคงเจอกับความไม่แน่นอนเรื่องของสภาพอากาศที่อาจจะมีปัญหาในแง่ของรายได้ภาคเกษตรมากขึ้น
โดย สศช.ได้แนะนำการบริหารเศรษฐกิจของภาครัฐ 6 ข้อได้แก่
1.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น เพื่อรักษาการเบิกจ่ายของภาครัฐให้ช่วยเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพทางการคลัง และสร้างเสถียรภาพ
2.การดำเนินการเพื่อรองรับการยกระดับมาตรการการกีดกันทางการค้าของประเทศ โดยเร่งการเจรจากับสหรัฐฯ ตามที่รัฐบาลได้เตรียม การไว้ในหลายด้าน รวมทั้งเร่งรัดการส่งออกสินค้าและขยายตลาดใหม่ๆ และส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
3.การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม ใช้กฎหมายในการดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตรวจเฝ้าระวังเรื่องของการทุ่มตลาด
4.การให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ช่วยเหลือสภาพคล่องเพื่อไม่ให้มีการปลดคนงานออกจากการทำงาน ฃ
5.การดูแลภาคเกษตร และรายได้เกษตรกร โดยเตรียมรองรับผลผลิตสินค้าเกษตร และลงทุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก
6.การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวขยายตัวได้ต่อเนื่อง
#สภาพัฒน์