การกลับของมาโควิด-19 นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า โควิดไวรัส เป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและ เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมากและรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายขึ้น แต่ลดความรุนแรงของโรคลงตามกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการ ระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อ จะยังคงความเดิมของสายพันธุ์เดิม หรือจำไว้เดิม เมื่อได้รับสายพันธุ์ใหม่ หรือฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ภูมิคุ้มกันจะไปกระตุ้นความจำเดิม imprint immunity ได้ดีกว่าสายพันธุ์ใหม่ ทั้งที่เราต้องการให้กระตุ้นสายพันธุ์ใหม่ไม่ใช่สายพันธุ์เดิม จึงเป็นเหตุผลที่ การฉีดวัคซีนซ้ำๆ หรือการติดเชื้อซ้ำมาอีก ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นสายพันธุ์เดิมมากกว่าสายพันธุ์ใหม่ จึงทำให้ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้น้อยลง โดยเฉพาะจากวัคซีน
อย่างไรก็ตามการติดเชื้อหรือวัคซีนที่เคยฉีด ร่างกายจะมีหน่วยความจำระดับเซลล์ ต่อตัวไวรัสโดยเฉพาะการทำลายไวรัสในระดับเซลล์ โดยภูมิที่สร้างความจำไว้ให้กับเซลล์ โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อ และหรือวัคซีน ทำให้การกำจัดไวรัสหลังการติดเชื้อ ได้ดีและเร็วขึ้น จึงเป็นการลดความรุนแรงของโรคลง ประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อแล้ว หน่วยความจำระดับเซลล์ จึงมีความจำที่ดีมากต่อไวรัสโควิดไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ทำให้การติดเชื้อครั้งที่ 2 หรือครั้งหลังๆ ความรุนแรงจะลดลงตามลำดับ
มีผู้ป่วยรายหนึ่งติดเชื้อแล้วถึง 7 ครั้ง จากการทำงานในหน่วยโควิด และโรคทางเดินหายใจ จึงมีการติดเชื้อซ้ำได้บ่อย และ เห็นได้ชัดเจน การติดเชื้อครั้งแรกรุนแรงที่สุด และการติดเชื้อครั้งหลังๆ แทบจะไม่รู้เลยว่าเป็นโควิด 19 และจากการศึกษาของเรา การติดเชื้อครั้งที่ 2 จำนวนหลายร้อยคน เห็นได้ชัดเจนว่าความรุนแรงลดลง
ในเด็ก หลายคนเคยกลัวว่า เมื่อติดเชื้อโควิดจะทำให้เกิด ความรุนแรงคล้ายหัดญี่ปุ่น (Kawasaki disease) เรียกว่า MIS-C แต่กลับพบว่าเมื่อเข้าสู่ยุคของโอมิครอน อัตราการเกิด MIS-C ได้ลดลงอย่างมาก และอย่างไรก็ตามที่จริง MIS-C ก็พบได้ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีโควิดเสียอีก
ดังนั้นในระบบของภูมิคุ้มกัน ทำให้ในปัจจุบัน บริษัทวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากได้เลิกผลิตวัคซีนแล้ว ที่รู้ยังคงเหลืออยู่ 2 บริษัท ที่เป็น mRNA อยู่ 1 บริษัท และ protein subunit อีกหนึ่งบริษัท แต่การนำเข้าวัคซีนมาในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียว และมีราคาแพงมาก ซึ่งหาฉีดได้ยากมาก เพราะโรงพยาบาลต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่เอาเข้าโรงพยาบาล เพราะการเก็บรักษาค่อนข้างยาก ดังนั้นความจำเป็นในการฉีดวัคซีนในประเทศไทย จึงมีน้อยมากมาก และเชื่อว่าต่อไปก็คงจะหาวัคซีนในประเทศไทยไม่ได้
โควิด 19 ในปัจจุบันถึงแม้จะพบผู้ป่วยได้มาก แต่ส่วนใหญ่อาการจะน้อยลง และดูแลรักษาเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจ เมื่อไม่มีอาการก็ไปโรงเรียนได้ไปทำงานได้ ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องหยุดกี่วัน
สิ่งสำคัญขนาดนี้คือการป้องกันทางด้านสุขอนามัย ด้วยการล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ ถ้าป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และการให้ความรู้กับเด็กนักเรียนในการป้องกันโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคมือเท้าปากไปพร้อมๆกัน จึงมีความสำคัญมากกว่า
ด้านศูนย์ข้อมุลโควิด-19 ระบุว่า สายพันธุ์ โอมิครอน XEC คืออะไร?
ต้องระวังแค่ไหน?เพิ่มเติม XEC คือโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสมตัวใหม่ในตระกูลโอมิครอน
+++พบครั้งแรกที่เยอรมนี มิ.ย. 2567
+++เกิดจากการรวมกันของ 2 สายพันธุ์ย่อย: KS.1.1 (FLiRT) และ KP.3.3 (FLuQE)
+++แพร่เร็วขึ้นจากการกลายพันธุ์หลายจุด
+++พบแล้วในอย่างน้อย 15 ประเทศ รวมถึงยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย
+++มีการถอดรหัสพันธุกรรมแล้วกว่า 550 ตัวอย่างจาก 27 ประเทศ
เบื้องต้น จากข้อมูลในสหรัฐฯ อังกฤษ และจีน XEC แพร่เร็วกว่าโอมิครอนตัวอื่นถึง 84–110% บางประเทศมี XEC มากถึง 10–20% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่
สำหรับ อาการของ XEC ไม่รุนแรง คล้ายโควิดทั่วไป เช่น: ไข้ ไอ เจ็บคอ เหนื่อยง่าย ปวดหัว ปวดตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล สูญเสียการรับกลิ่น/รส เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน
แนวทางการป้องกันยังเหมือนเดิม: สวมหน้ากากในที่แออัดล้างมือบ่อยๆเว้นระยะห่าง แยกตัวเมื่อมีอาการ
พร้อมย้ำตอนท้ายว่า ติดตามข่าวไว้ ไม่ตื่นตระหนก แต่ต้องไม่ประมาท
#โควิด19