นักวิเคราะห์ เตือน ไทยเผชิญ ‘กับดักสภาพคล่อง’ กระทบเศรษฐกิจไทย ’เงินในระบบสูง-สินเชื่อฟุบ’

06 พฤษภาคม 2568, 11:41น.


           “สภาพคล่อง” ในระบบการเงินไทยจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ “นักเศรษฐศาสตร์” ต่างออกมาเตือนว่า เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ “กับดักสภาพคล่อง”


          ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยจะเสริมสภาพคล่องลักษณะของเงินสินเชื่อที่จะเข้าสู่ระบบมากขึ้นนั้น คงไม่ได้หวังผลตรงนั้นมากนัก แม้ลดดอกเบี้ยไม่ช่วยให้สินเชื่อปีนี้ขยายตัวโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง


          อีกทั้งประเทศมีปัญหาเครดิตสูงจากอุปสงค์ในประเทศเติบโตช้า ทำให้ความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อมีสูงที่จะกลายเป็นหนี้เสีย ทำให้สถาบันการเงินระวังปล่อยสินเชื่อทั้งเอสเอ็มอี สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์


          ดังนั้น การลดดอกเบี้ยโดยหวังว่าจะช่วยเสริมสภาพคล่อง สร้างแรงจูงใจในการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เงินจะได้หมุนในระบบเศรษฐกิจเหมือนในอดีต คงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทำให้สินเชื่อปีนี้ขยายตัวระดับต่ำต่อเนื่อง


          ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลคือกับดักสภาพคล่องต่อให้ “ลดดอกเบี้ย” สภาพคล่องในระบบไม่ได้ถูกเติมเข้ามา แม้การลดดอกเบี้ยต้องการลดภาระการเงินหรือภาระหนี้ อีกทั้งความเสี่ยงที่สูงทำให้แบงก์ระวังปล่อยสินเชื่อ จึงทำให้สินเชื่อที่เป็นสภาพคล่องส่วนนี้อาจไม่ได้ออกมากนัก


          กับดักสภาพคล่อง คือภาวะที่สินเชื่อไม่ขยายตัวเลย แต่วันนี้ยังขยายตัวได้ดี แต่อยู่ระดับต่ำ ฉะนั้น วันนี้ทุกอย่างยังไม่ถึงขั้นหยุดชะงัก คนยังใช้จ่าย แต่ถ้าถึงจุดที่คนขาดความเชื่อมั่นมาก สินเชื่อขยายตัวต่ำ ความต้องการสินเชื่อใหม่ของแบงก์ลดลง ไม่มั่นใจลงทุน แบงก์ระวังปล่อยกู้มากขึ้น แบบนี้เรียกว่า “กับดักสภาพคล่อง” ซึ่งในอดีตบางช่วงเจอมาแล้วตอนวิกฤติโควิด วิกฤตการเงินในอดีต”


          นายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า กับดักสภาพคล่องคือ Liquidity Trap คือภาวะที่ระบบมี “สภาพคล่องล้น” หรือมีเงินในระบบมากเพียงพอ แต่เงินไม่หมุนเวียนต่อในระบบเศรษฐกิจ เพราะ ดีมานด์หายไปทั้งจากประชาชนหรือภาคธุรกิจ ซึ่งแม้มีเงินในมือแต่ไม่ใช้จ่ายหรือลงทุนต่อ ส่งผลให้เศรษฐกิจนิ่งเฉยหรือชะลอตัว


           สำหรับ สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ อยู่ในมือประชาชนและธุรกิจ เช่น เงินสด เงินฝากระยะสั้น หรือเงินใน wallet ต่าง ๆ สองอยู่ในตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การลงทุนในพันธบัตร หุ้น กองทุน ฯลฯ และสุดท้ายคือ ในระบบสถาบันการเงิน เช่น เงินฝากระยะยาวที่อยู่ในธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ


          ปัจจุบัน สินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐรวมกันอยู่ที่ประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์


 


#ไม่ปล่อยกู้


#สินเชื่อ
ข่าวทั้งหมด

X