ผู้ว่าฯสตง. ย้ำ เอาผิดทุกคน ทำสตง.เสียหาย-เปิดวงเงินประกันอิตาเลียนไทย

01 พฤษภาคม 2568, 07:54น.


           การปรับเปลี่ยนขนาด ปล่องลิฟท์ อาคารสตง.ที่พังถล่ม  นายมณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ยอมรับว่ามีการปรับเปลี่ยนตามแบบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัววิศวะกรคุมงาน จะต้องแจ้งเรามา แต่นายสมเกียรติ ชูแสงสุข วิศวกรผู้ควบคุมงาน ไม่เคยเปลี่ยน มีชื่อนายสมเกียรติแต่แรก และรับรองแต่แรก และไม่ใช่มีชื่ออย่างเดียว วิศวกรแต่ละคนต้องมีหนังสือยินยอมว่า จะมารับผิดชอบงานนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ มีหลักฐานวุฒิบัตร บัตรประชาชน และวันแรกเขาจะรับรองว่า เขาจะควบคุมงานก่อสร้างนี้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ เราต้องยึดตามเอกสารนี้ก่อน และการที่นายสมเกียรติบอกว่าไม่รับรู้ด้วยก็ต้องไปดำเนินคดีกัน



          ข้อสงสัยในการแก้แบบและวัสดุต่างๆ ผู้ว่าสตง.กล่าวว่า ตอนนี้คณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งกำลังตรวจสอบอยู่ เราต้อรอผลดำเนินการ แต่เราต้องยอมรับว่ามีการแก้ไขจริง แต่การแก้ไขนั้นมีผลกระทบขนาดไหนอย่างไร ขอเรียนว่าผลเป็นอย่างไร สตง.รับได้หมด ใครผิดก็ว่าไปตามกฎหมาย ส่วนเรื่องฮั้วหรือนอมินี ได้มอบเอกสารให้ดีเอสไอแล้ว เราพร้อมให้ความร่วมมือกับดีเอสไอ และกำลังตรวจสอบถึงการเข้ามาร่วมรับจ้างก่อสร้างของบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ด้วย ทำตามกฎหมาย เพราะบริษัทก่อสร้างเขาทำประกันไว้ คือบริษัทอิตาเลียนไทย ที่จะมีประกันตัวตึกกว่า 2.1 พันล้านบาท และประกันบุคคลที่สามอีกร้อยกว่าล้าน และประกันของอีกประมาณ กว่า 5 ล้านบาท ถ้าเป็นความผิดของอิตาเลียนไทยก็ครอบคลุม แต่ถ้าเป็นเรื่องออกแบบแล้วอิตาเลียนไทยทำตามแบบ ก็จะมีปัญหาข้อกฎหมายนิดหน่อย แต่ทั้งนี้ ใครทำผิด ไม่ว่าใครก็ตาม สตง.เป็นผู้เสียหาย ก็จะดำเนินคดีอาญา และแพ่งให้ถึงที่สุด



          ส่วนการบอกเลิกสัญญาตอนต้นปี แต่สัญญาไม่ได้ถูกยกเลิก เพราะอะไร ผู้ว่าสตง.ชี้แจงว่า อยู่ในกระบวนการ การบอกเลิกสัญญาของราชการ จะมีค่าเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จริง ๆ แล้ว บริษัทนี้ ทำงานแล้วมีปัญหา เขาจะบอกเลิกสัญญาอยู่หลายหน่วยงานแล้ว แต่กระบวนการบอกเลิก มันนาน ต้องให้เวลาชี้แจง



           ด้านนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าฯสตง. ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.ปปชกยืนยันเรื่องการออกแบบ ผมไม่เกี่ยวข้อง เพราะพ้นตำแหน่งตั้งแต่เลือกพื้นที่ก่อสร้างตึกเสร็จ แต่การออกแบบเกิดในปี 2561-2562 มีการทำสัญญาปี 2563-2564 ซึ่งต้นเองได้พ้นจากตำแหน่งไป 3-4 ปีแล้ว โดยช่วงที่พูดถึงคือช่วงที่ได้ผู้รับจ้างที่เป็นกิจการร่วมค้าแล้ว ซึ่งกิจการร่วมค้าอยู่ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ สามารถมีกิจการร่วมค้าได้ แต่บริษัทต้องมีผลงานไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ แต่ผู้ร่วมค้าต้องเป็นบริษัทคนไทย จดทะเบียนในประเทศไทยทำสัญญาร่วมค้ากันได้และนำมาเสนอราคาต่อได้



          ส่วนจะมีนอมินีแอบแฝงในกิจการค้านี้หรือไม่ ในขณะนั้นยังไม่มีระเบียบว่าต้องไปตรวจสอบลึกถึงกิจการของนอมินีขนาดนั้น ซึ่งถ้าจะตรวจสอบเรื่องนอมินีไม่ใช่จะตรวจได้ด้วยตาเปล่า แต่ต้องพิสูจน์เส้นทางการเงิน เพราะตามระเบียบกำหนดว่า ผู้แข่งขันประมูลโครงการ มีการฮั้วงานลักษณะสมยอม เอื้อถือหุ้นไขว้ไปมา เป็นบริษัทในเครือเดียวกันแล้วมาแข่ง เชื่อว่า ดีเอสไอต้องตรวจสอบเรื่องเหล่านี้แน่นอน



 

ข่าวทั้งหมด

X