นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เปิดเผยช่วง 2 เดือนแรกของปี 2568 (ม.ค.-ก.พ.) อนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ แล้ว 181 ราย เพิ่มขึ้น 73 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 68 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 108 ราย โดยมีเงินลงทุนรวม 35,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,738 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 26,539 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 1,344 คน เพิ่มขึ้น 784 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 140 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 560 คน
เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 41 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ 140 ราย เงินลงทุนรวม 35,277 ล้านบาท
5 อันดับแรกต่างชาติที่เข้ามาลงทุน ได้แก่
1.ญี่ปุ่น 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 21 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 13,676 ล้านบาท
2.จีน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 5,113 ล้านบาท
3.สิงคโปร์ 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 4,490 ล้านบาท
4.สหรัฐฯ 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,372 ล้านบาท
5.ฮ่องกง 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 1,587 ล้านบาท
ส่วนการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC นักลงทุนต่างชาติสนใจจำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้น 22 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 35 ราย โดยมีมูลค่าการลงทุน 17,546 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 19 ราย ลงทุน 8,096 ล้านบาท, จีน 14 ราย ลงทุน 2,751 ล้านบาท, สิงคโปร์ 8 ราย ลงทุน 2,191 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ อีก 16 ราย ลงทุน 4,508 ล้านบาท
....
#การลงทุนของต่างชาติ
#กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
#กระทรวงพาณิชย์