นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงรายละเอียดตัวเลขสำคัญ
-ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% จากเดิมคาดโต 2.6% เพิ่มขึ้นจาก 2.0% ในปี 66 โดยการบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาล ขยายตัว ร้อยละ 4.4 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.8 ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชน ลดลง
-คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โต 2.3-3.3% โดยมีค่ากลางที่ 2.8% ซึ่งอัตราดังกล่าวรวมโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว และความเสี่ยงจากนโยบายการค้าโลก โดยที่การลงทุนภาครัฐ การส่งออกและการท่องเที่ยวยังเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักในปีนี้ โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานความปลอดภัย และ การเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว เช่น สนามบินและเที่ยวบิน
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2568
1.การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า
-การให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ และเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้า
-การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
-การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ
-การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
2.การเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว
3.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
4.การสร้างการรับรู้มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจ
5.การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง
-ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก
-ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง
-ความผันผวนของผลผลิตและระดับราคาสินค้าเกษตร ด้านการใช้จ่าย การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกสินค้าและ บริการขยายตัวเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ต่อเนื่อง ส่วนการอุปโภคภาครัฐบาลชะลอตัว และการลงทุน ภาคเอกชนปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรมฯ กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง และการขายปลีกฯ และสาขาการก่อสร้างขยายตัวเร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง
#สภาพัฒน์
#ตัวเลขเศรษฐกิจ
Cr.ขอบคุณข้อมูล สภาพัฒน์
แฟ้มภาพ