เปิดผลวิจัยสหรัฐฯ วิกฤตจากภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยา มีแนวโน้มแย่ลง คาดมีคนเสียชีวิต 40 ล้านราย ภายในปี 2593

17 กันยายน 2567, 12:19น.


          ดร.คริส เมอร์เรย์ ผู้อำนวยการสถาบันชี้วัดและประเมินสุขภาพ (IHME)ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตันในสหรัฐฯในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยเกี่ยวกับภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ(AMR)ทั่วโลก โดยศึกษาครอบคลุม 204 ประเทศ/อาณาเขตทั่วโลก ระหว่างปี 2533-2564 ศึกษาจากผู้ป่วย 520 คนทั่วโลก และตีพิมพ์ผลวิจัยในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet)ของอังกฤษ เมื่อวานนี้(16 ก.ย.67) ทีมวิจัย คาดว่า ตัวเลขผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ เรียกว่า AMR อาจจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ภายในปี 2593 แสดงให้เห็นผลกระทบรุนแรงต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลกจากวิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะที่พบอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน



          โดยรวมระหว่างปี 2568-2593 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน คาดว่า จะมีผู้ป่วยเสียชีวิตกว่า 39 ล้านรายทั่วโลกจากสาเหตุภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ(AMR)โดยตรง ซึ่งทีมวิจัยพบว่า การเสียชีวิต หรือการเจ็บป่วยส่วนใหญ่มีสาเหตุโดยตรงจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะขณะรับยารักษาเชื้อโรคต่างๆ 22 ชนิด พบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะในยาต่างๆ 84 ตัว และในเชื้อไวรัส 11 ชนิด คาดว่า ปัญหานี้อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งเสนอแนะให้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนายาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะตัวใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมในการฆ่าเชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรีย



         ภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อราเริ่มกลายพันธุ์ เช่น พัฒนาความสามารถในการหลบเลี่ยงยาที่ใช้รักษา ทำให้ยาที่ใช้รักษาใช้ไม่ได้ผลต่อไป องค์การอนามัยโลก(WHO) เคยเตือนว่า ปัญหา AMR เป็นหนึ่งในภัยคุกคามในลำดับต้นๆที่จะกระทบระบบสาธารณสุขและการพัฒนาทั่วโลกในอนาคต มีสาเหตุจากการใช้ยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ อย่างไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ในปริมาณมากเกินไป ไม่ว่าจะใช้รักษาเชื้อแบคทีเรียกับมนุษย์ สัตว์และพืช ส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาความสามารถในการดื้อยา



 



#ทีมวิจัยสหรัฐ



#วิกฤตแบคทีเรียดื้อยา



#WHO

ข่าวทั้งหมด

X