นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ คาดการณ์ว่า ช่วงปลายเดือน ส.ค. 67 ยังมีร่องมรสุมพาดผ่านไทย แต่อาจเคลื่อนต่ำลงมาบริเวณภาคเหนือตอนล่าง จะส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำยมและลำน้ำน่านเพิ่มมากขึ้น
-สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ที่ จ.สุโขทัย ติดตามสถานการณ์น้ำในภาคเหนือ
-เตรียมความพร้อมพื้นที่รับน้ำทุ่งบางระกำ ขณะนี้ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตครบทุกพื้นที่แล้ว
-หากเกิดมวลน้ำมามากก็ได้วางแผนระบายน้ำบางส่วนเข้าทุ่งบางระกำ
-สทนช.ได้แจ้งเตือนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบริเวณชุมชนริมน้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำ ประกอบด้วยพื้นที่
*จ.น่าน (อ.เมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ แม่จริม บ้านหลวง ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง สันติสุข บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง)
สถานีวิทยุ จส.100 สัมภาษณ์ คุณวรวิทธิ์ อินต๊ะใจ หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า น้ำในแม่น้ำน่าน ยังคงเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ น้ำที่มาจากทิศเหนือ มารวมกันที่ อ.ท่าวังผา อ.เมือง อ.ภูเพียง ได้มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ต่ำไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว น้ำก้อนใหญ่มาถึงเขตตัวเมืองน่านแล้ว แต่เนื่องจากมีกำแพงกั้นน้ำไว้ทำให้ยังสามารถป้องกัน ถ้าไม่มี น้ำท่วมไปแล้ว กำแพงป้องกันสร้างหลังปี 2554 น้ำก้อนนี้จะลงเขื่อนสิริกิตต์ ที่น่าห่วง คือ น้ำจาก จ.แพร่ ที่ไม่มีเขื่อนกั้น จะลงมารวมกันที่จ.นครสวรรค์
*จ.แพร่ (อ.เมืองแพร่ เด่นชัย ลอง และวังชิ้น)
- จ.สุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และศรีสำโรง)
-บึงบอระเพ็ด เป็นพื้นที่สำหรับตัดยอดน้ำที่จะลงมาเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และได้วางแผนควบคุมน้ำเพื่อลดพื้นที่รับผลกระทบ โดยแบ่งการระบายน้ำผ่านระบบชลประทานของพื้นที่เจ้าพระยาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในพื้นที่ จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ
-กรณีหากเกิดพายุจรเข้ามา ขอให้ทุกหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการโดยการเก็บกัก หน่วงน้ำ และระบายออกให้เร็วที่สุด ให้เป็นไปตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน 2567 เพื่อเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงที่จะเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้มากที่สุดด้วย
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ช่วงปลายเดือน ส.ค.67 ถึงต้นเดือน ก.ย.67 มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดพายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลให้ลมมรสุมที่จะเข้าประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักเป็นบางแห่งในพื้นที่ภาคตะวันออกบริเวณ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณ จ. ภูเก็ต ตรัง กระบี่ จึงได้ขอให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยให้เร่งพัฒนาระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพและกระจายข้อมูลต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ ซึ่ง สทนช. ได้นำร่องพัฒนาระบบแจ้งเตือนผ่าน Line Application ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ด้วยแล้ว
อ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่เสี่ยงที่มีปริมาณน้ำในอ่างมากอยู่แล้ว ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอ่าง และวางแผนการระบายน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบในพื้นที่ท้ายน้ำ
ขณะเดียวกัน ช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค.67 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องวางแผนบริหารจัดการกักเก็บน้ำฝนไว้ให้เพียงพอสำหรับใช้ในฤดูแล้งในปีหน้า ในขณะที่ต้องบริหารจัดการน้ำให้เกิดอุทกภัยน้อยที่สุดไปพร้อมกัน ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญ
#รับมือน้ำเหนือ
Cr.ขอบคุณข้อมูล-ภาพ ปภ.น่าน,สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ