นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ รับฟังปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ตรวจจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ พร้อมนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ เพื่อรับรายงานปัญหาจากจังหวัดและเร่งเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้เร็วที่สุด รอต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องเร่งตัดวงจรการแพร่ระบาด
กรมประมงได้มีการจัดตั้งจุดรับซื้อขึ้นทุกพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด จํานวน 73 จุด โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดําที่รับซื้อไว้ไปให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ําหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทยนําไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ เพื่อนําไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดํา ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2567 ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีปริมาณรับซื้อปลาหมอคางดำไปแล้วกว่า 22,000 กิโลกรัม
สําหรับจุดรับซื้อแต่ละจังหวัด มีดังนี้ จังหวัดจันทบุรี มีจุดรับซื้อทั้งหมด 4 จุด จังหวัดระยอง 2 จุด จังหวัดฉะเชิงเทรา 3 จุด จังหวัดสมุทรปราการ 6 จุด จังหวัดนครปฐม 1 จุด จังหวัดนนทบุรี 1 จุด จังหวัดสมุทรสาคร 6 จุด จังหวัด สมุทรสงคราม 3 จุด จังหวัดราชบุรี 1 จุด จังหวัดเพชรบุรี 10 จุด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 จุด จังหวัดชุมพร 14 จุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 จุด จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 จุด และจังหวัดสงขลา 1 จุด รวมทั้งสิ้น 73 จุดรับซื้อ
โดยผู้ขายรายย่อย สามารถนํามาขาย ณ จุดรับซื้อต่าง ๆ ได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ไม่จํากัดจํานวน ไม่มีหลักเกณฑ์กําหนดในการรับซื้อ แต่หากเกษตรที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ทบ. 1) จับจากบ่อตนเอง ให้แจ้งข้อมูล ทบ.1 กับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลต่อไป ทั้งนี้ กรมประมงขอความร่วมมือแจ้งแหล่งน้ำที่จับและเครื่องมือที่จับกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำต่อไป
Cr:เฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์กรมประมง
#ปลาหมอคางดำ
#กรมประมง