หลังจากผู้นำสหภาพยุโรป(อียู) วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง กรณีที่เมื่อวันศุกร์(5 ก.ค.67) นายวิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี เข้าพบหารือกับประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ที่กรุงมอสโกว์ เกี่ยวกับแนวทางการสร้างสันติภาพยูเครน และเป็นผู้นำรัฐบาลแห่งชาติเพียงคนเดียวของอียูที่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย ทำให้สมาชิกของอียู แสดงความกังวล
ล่าสุด สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เกิดความตึงเครียดทางการทูตรุนแรงขึ้นระหว่างฮังการีกับเยอรมนี
เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศฮังการี เปิดเผยว่า ยกเลิกการประชุมร่วมกันระหว่างนายปีเตอร์ ซิจจาร์โต รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฮังการี และนางแอนนา แบร์บ็อก รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ในวันนี้(8 ก.ค.67) ที่กรุงบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี จากเหตุผลด้านเทคนิค ไม่ใช่ทางการเมือง เนื่องจาก ปฏิทินของรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน หวังว่าเร็วๆนี้จะมีการนัดหารือร่วมกันอีกครั้ง
เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี กล่าวว่า นางแบร์บ็อก วางแผนที่จะหยิบยกประเด็นการพบปะระหว่างนายออร์บัน กับ นายปูติน มาพูดคุย แต่เมื่อฮังการียกเลิกการนัดหมาย ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจ และมีความจำเป็นต้องมีการหารือจริงจังและตรงไปตรงมา นางแบร์บ็อค วางแผนจะเยือนอังการีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธ.ค.64 มีประวัติในการวิพากษ์วิจารณ์ฮังการีเป็นพิเศษ รวมถึงประเทศอื่นๆ เช่น จีน ด้วย
เมื่อวันศุกร์(5 ก.ค.67) นายโอลาฟ ชอลซ์ นายกฯเยอรมนี ได้เข้าร่วมกับผู้นำอียูคนอื่นๆและตำหนินายออร์บันโดยเน้นว่าฮังการี รับตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปแบบหมุนเวียน การเดินทางไปพบกับนายปูติน ในฐานะนายกฯฮังการี ไม่ใช่ในฐานะทูตของอียู
ล่าสุด นายออร์บาน ทวีตข้อความว่าฮังการีสนใจที่จะรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง สงบสุข และมีพลวัตกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
#ฮังการี
#เยอรมนี
CR:Times of India