เตือน 3 อำเภอ จ.เชียงราย-ทุกอำเภอ จ.ภูเก็ต ระวังน้ำป่า ส่วนฝั่งตะวันออกและกทม. ระวังน้ำทะเลหนุนสูง

04 กรกฎาคม 2567, 11:18น.


            กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงาน คาดการณ์และแจ้งเตือนภัยสถานการณ์ฝนและพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วงเช้า เวลา 08.00 น.วันนี้ (4 ก.ค.67)  



1.พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น



-ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง)



-ภาคใต้ จ.ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)



            ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า ระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัยควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว



2.พื้นที่เฝ้าระวังทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง



-จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร



-ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล



           ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่ปากแม่น้ำและที่ราบลุ่มชายฝั่ง ระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง           ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ



-ระหว่างวันที่ 3-8 ก.ค.67กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) คาดการณ์ว่า มีแนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก สทนช.ได้ประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน



-วันที่ 7 ก.ค.67 คาดว่า มีแนวโน้มที่จะมีฝนตกมากในพื้นที่ จ.ภูเก็ต อีกครั้ง กำชับหน่วยงานให้มีการเฝ้าระวังในทุกพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี เพื่อให้ดำเนินการเชิงป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังภัยจากดินโคลนถล่มด้วย



-ปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง ที่จ.ภูเก็ต เมื่อคืนวันเสาร์ (29 มิ.ย.67) มีปริมาณฝนสะสมรวมถึง 347 มิลลิเมตร ซึ่งปัจจุบันลักษณะของระบบการระบายน้ำยังไม่รองรับกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการขยายตัวของชุมชนที่ทำให้เส้นทางการระบายน้ำไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอุทกภัย นอกจากนี้ ยังมีฝนตกในบริเวณพื้นที่ภูเขาของ จ.ภูเก็ต ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก             สทนช. ติดตามการดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะมาตรการในเรื่องของการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและการตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย โดยได้สั่งการให้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 10 ก.ค. 67 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ ประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จะเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วย



 



#น้ำท่วมฉับพลัน



#น้ำป่าไหลหลาก



CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM



 



 



 



 



 

ข่าวทั้งหมด

X