การบรรยายพิเศษการถอดบทเรียนการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองสู่การปฎิรูปประเทศในระบอบประชาธิปไตย กรณีศึกษาการร่างรัฐธรรมนูญในเยอรมนี ของศาตราจารย์ อูริค คาร์เพ็น จากมหาวิทยาลัยฮัมบูรก์
ศาสตราจารย์ คาร์เพ็น เปิดเผยว่า เยอรมนีเป็นรัฐรวมโดยมีรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละรัฐและรัฐบาลกลางซึ่งมีสมาชิกรัฐสภารวมประมาณ 599 คนโดยการเลือกตั้งของเยอรมนี นั้นค่อนข้างจะยุ่งยากและซับซ้อน เพราะมีการนำคะแนนเสียงแบบเขตและบัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์มาใช้คิดผสมกัน หรือที่หลายคนมักเรียกว่าเยอรมันโมเดล ซึ่งระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันโมเดลนี้แม้จะประสบความสำเร็จในเยอรมันและมีการนำแนวคิดนี้ไปใช้ต่อในประเทศอื่นๆแต่ ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้ผลในประเทศอื่นหรือไม่ ส่วนตัวแนะนำว่าหากจะใช้การเลือกตั้งแบบเยอรมันโมเดลนี้ในประเทศใด ประเทศนั้นควรมองก่อนว่าประชาชนให้ความมั่นใจต่อการเลือกตั้งต่อศาลและต่อรัฐธรรมนูญและเข้าถึงสิทธิรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมระบุว่าเยอรมันไม่เคยมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในประเทศเลย
ส่วนรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเขียนระบุในวงกว้างๆ เช่น ระบุให้มีการเลือกตั้งที่เสรี แต่ไม่ได้ระบุถึงแนวทางการเลือกตั้งไว้ พร้อมระบุด้วยว่าเยอรมนีไม่เคยนำกำลังทหารมาใช้เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะคนเยอรมันรู้ดีจากบทเรียนในอดีตของอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ ทำให้ทหารไม่มีบทบาททางการเมือง แต่หากมีความจำเป็นต้องนำทหารมาออกมาจริงนั้นต้องมีเสียงอย่างน้อย 1 ใน 3 เสียงของรัฐสภาจึงจะสามารถให้ทหารออกมาได้
สำหรับ บทบาทของรัฐธรรมนูญว่า ควรมีสิทธิไว้ปกป้องประชาชนและต้องสะท้อนสิ่งที่ประชาชนต้องการด้วย ส่วนการมีคณะรัฐมนตรีที่ดีหรือนักการเมืองที่ดีนั้นตัวเองคงบอกไม่ได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี เพราะเป็นเรื่องปรัชญา แต่การมีกฎระเบียบต่างๆที่ชัดเจน รวมทั้งการมีรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากก็จะส่งผลให้มีความเป็นเอกภาพในรัฐบาลและจะเป็นผลดีส่วนหนี่งของประเทศ
การบริหารประเทศ ของเยอรมนีส่วนมากเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ทำให้การเมืองมีเอกภาพมาก พร้อมชี้ว่า หากจะให้ตัวเองดูระบอบประชาธิปไตยของประเทศใดนั้นตัวเองจะดูจากสิทธิเสรีภาพของสื่อเป็นสำคัญ เพราะส่วนมากแล้วการมีประชาธิปไตยจะสะท้อนผ่านสื่อ หากสื่อสามารถวิจารณ์และเข้าถึงรัฐบาลได้ก็แสดงว่าประเทศนั้นมีประชาธิปไตยมากด้วย