เหตุการณ์คราบน้ำมันของ บริษัทผลิตน้ำมันรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ ที่รั่วไหลออกมา เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ปี2556 จนทำให้ทรัพยากรในทะเล บางพื้นที่ของเกาะเสม็ด ได้รับผลกระทบมาจนถึงปัจจุบันนี้นั้น นายพิศณุ เขมะพรรค์ นายกสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด เปิดเผยว่า ตั้งแต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมานาน ซึ่งดูเหมือนว่าระบบนิเวศที่มองเห็นจะดูปกติ แต่ระบบนิเวศใต้ท้องทะเล ยังคงไม่เหมือนเดิน เพราะทุกวันนี้ผู้ที่ได้รับผบกระทบโดยตรง คือ ชาวประมงซึ่งไม่สามารถทำประมงใกล้ชายฝั่งได้ เนื่องจากสัตว์ทะเล มีจำนวนลดลงไปมาก เช่น แต่ก่อนชาวประมงหาปลาได้วันละ 50กิโลกรัม ปัจจุปันหาได้เพียง 5-7กิโลกรัม จึงทำให้ชาวประมงที่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำต้องออกไปทำประมงไกลกว่าเดิม และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ส่วนการ เยียวยาจากบริษัทน้ำมัน ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในครั้งนั้น ได้เพียงแค่ช่วยเหลือชาวประมงเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อผลกระทบที่มีมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายยังอยู่ในชั้นศาลแพ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เรื่องนี้จะจบเมื่อไหร่ เพราะขณะนี้รูปคดียังอยู่ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ย และสืบพยานอยู่ แต่ส่วนของการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐก็ยังไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาลลงมาช่วยเหลือชาวบ้านบนเกาะที่ได้รับผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนการดูแลสิ่งแวดล้อมบนเกาะเสม็ดจ.ระยอง ปัจจุบันนี้ทางผู้ประกอบการที่พัก ร้านคา และชาวบ้านในพื้นที่ ได้ร่วมมือ ร่วมใจกันแก้ไขปัญหานี้ได้แทบจะหมดแล้ว เช่น ที่พัก ร้านอาหาร จะมีการวางมาตราการคือให้พนักงานของแต่ละสถานประกอบการ จะต้องแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง แต่หากเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการรายใดแยกขยะประเภทที่มีมูลค่า เช่น แก้ว กระดาษ ผู้ประกอบการก็จะยกให้แก่พนักงานนำไปขาย ซึ่งวิธีนี้ทำให้พนักงานทุกสถานประกอบการช่วยกันดูแลปัญหาขยะได้ดี ส่วนขยะเปียก จำพวก เศษอาหาร ก็จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการ เพื่อแปลเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อนำมาจำหน่ายภายในเกาะ หรือส่งขึ้นฝั่งเพื่อนำส่งไปจำหน่ายในพื้นที่อื่น และพอได้ทุนมาก็นำเงินเหล่านี้มาพัฒนาชุมชน ส่วนขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ก็จะนำไปเผาด้วยเตาเผา หรือส่งขึ้นฝั่งเพื่อไปทำลายต่อไป