กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับล่าสุด ฉบับที่ 3 เตือนเรื่องพายุฤดูร้อน ในส่วนกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.67)
-ช่วง 19-21 มี.ค.67 เตรียมรับมือพายุฤดูร้อน มีสัญญาณฝนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน ทำให้มีลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ขณะที่ประเทศไทย มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกของลมในระดับบนจากเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรกๆ โดยเริ่มทางภาคอีสาน ภาคตะวันออกก่อน(ในช่วงบ่ายวันที่ 19 มี.ค.67) ระวังพายุฤดูร้อน หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลงแบบฉับพลัน ต้องระวังรักษาสุขภาพช่วงอากาศเปลี่นแปลง
-ช่วง 22-27 มี.ค.67 ลมใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ กลับมาพัดปกคลุม ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ฝนยังมีเกิดขึ้นได้บางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคอีสานตอนล่าง อากาศจะกลับมาร้อนอีกครั้ง (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ส่วนกรุงเทพฯ พญ.วันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์
-สำนักการระบายน้ำ ติดตามและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานสภาวะอากาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ควบคุมระดับน้ำตามแผน ตรวจสอบจุดก่อสร้างที่จะมีผลกระทบกับการระบายน้ำ พร้อมจัดเตรียมเครื่องมือระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำ และบุคลากรเพื่อเข้าพื้นที่ได้ในทันที
-สำนักการโยธา จัตเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ตรวจอาคารสถานที่ ป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้าง ให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
-สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเตรียมรถดับเพลิง และอุปกรณ์กู้ภัย เครื่องมือและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากเหตุลมกระโชกแรง และปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ
-สำนักเทศกิจ จัดรถสายตรวจ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชาชนจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
-สำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบและแก้ไขสัญญาณไฟจราจรให้ใช้งานได้เป็นปกติ และใช้กล้อง CCTV ตรวจสอบพื้นที่ หากพบมีน้ำท่วมขัง ต้นไม้หักโค่น ป้ายโฆษณาล้ม ถนนชำรุด ให้แจ้งหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทันที
-สำนักสิ่งแวดล้อม จัดเตรียมกำลังคน เครื่องมือ ออกปฏิบัติการแก้ไขเหตุต้นไม้หักโค่น ล้ม กีดขวางถนนและการจราจร หรือกระทบต่อบ้านเรือนทรัพย์สินของประชาชน พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนได้ทันที
-สำนักการคลัง จัดหน่วยซ่อมเครื่องยนต์ ช่วยเหลือประชาชน โดยประสานกับสำนักงานเขต ให้การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรให้กับสำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา และสำนักงานเขต ตามที่มีการร้องขอ
-สำนักงานเขต จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (หน่วย Best) และจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจ ช่วยเหลือประชาชน อำนวยความสะดวกด้านการจราจร หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ และเมื่อมีเหตุต้นไม้หักโค่น ป้ายโฆษณาล้มให้เข้าดำเนินการแก้ไขโดยทันที
#พายุฤดูร้อน
CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมอุตุนิยมวิทยา,กรุงเทพมหานคร