*ปธ.สนช.เผยการแก้ไข ร่างรธน.เปิดทางประชามติต้องเสร็จก่อน 6 ส.ค.*

21 พฤษภาคม 2558, 11:01น.


การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อทำประชามติ  นาย พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนช. เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. จะต้องยื่นคำเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ตามอำนาจในม. 46 ก่อน เพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ได้กำหนดการทำประชามติไว้ เพียงแต่กำหนดให้สภาปฎิรูปแห่งชาติหรือ สปช. พิจารณาเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น คิดว่า หากมีการแก้ไข คงแก้ในจุดเดียวคือการแก้เพื่อทำประชามติ และการแก้ไขก็ต้องให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่สปช.ให้ความเห็นชอบต่อร่าง รวมทั้งรัฐบาลจะต้องให้เวลาสนช. 15 วันในการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย  นายพรเพชร ชี้แจงว่า าเหตุที่ไม่ได้เปิดช่องในการทำประชามติไว้แต่แรกในร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว เนื่องจากต้องการรอดูว่า หากกระแสดีก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ



ส่วนการทำประชามติต้องรอดูอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบใด และต้องรอดูด้วยว่าจะมีผลอย่างไร  ส่วนตัวมองว่าควรมีการคำนึงถึงผลของการทำประชามติ โดยเฉพาะหากทำแล้วไม่ผ่านจะส่งผลอย่างไร จะมีวิธีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เช่นไรให้ประชาชนยอมรับได้ดีกว่าร่างเดิม และรวมไปถึงการสรรหาคณะกรรมาธิการยกร่างฯชุดใหม่  หวังว่าการทำประชามติจะสามารถสะท้อนเสียงประชาชนได้อย่างแท้จริง  ประธานสนช.ย้ำว่า ประชามติจะไม่เกิดขึ้น หากสปช.ไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ และเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตั้งแต่ต้น 



ส่วนการเปิดเวทีเสวนาของนักวิชาการและฝ่ายต่างๆนั้นก็เป็นไปตามที่รัฐบาลระบุไว้ว่าสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ก้อให้เกิดความแตกแยก และต้องเป็นไปเพื่อให้ความรู่ประชาชน



สำหรับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนช.ในวันนี้ที่มีวาระพิจารณาเรื่องด่วนร่างพระราชบัญญัติสำคัญกว่า 4 ฉบับโดยเฉพาะการพิจารณาชั้นรับหลักการวาระแรกต่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ที่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเป็นผู้เดินทางมาชี้แจงถึงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อที่ประชุมด้วยตัวเองโดยพบว่าเป็นการตั้งงบประมาณขาดดุลจำนวน 3.9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนกว่าร้อยละ 20   เน้นการลงทุนพื้นฐานสนช.เตรียมสมาชิกไว้ 40 คนเพื่อเป็นคณะกรรมาธิการฯพิจารณาในชั้นแปรญัตติไว้เกือบครบแล้ว ซี่งจะใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก และจะมีครม.อีก 10 คนที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการฯเพื่อร่วมแปรญัตติด้วย

ข่าวทั้งหมด

X