กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ไทยพบจุดความร้อนทั้งประเทศ 601 จุด ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่าจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในป่าสงวนแห่งชาติ 169 จุด ตามด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 153 จุด พื้นที่เกษตร 130 จุด พื้นที่เขต สปก. 79 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 53 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 7 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี 110 จุด
ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่กัมพูชา 4,056 จุด ตามด้วย เมียนมา 979 จุด ลาว 622 จุด และเวียดนาม 166 จุด
ทางด้านข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ไทยพบจุดความร้อนทั้งประเทศ 1,054 จุด ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่าจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในป่าอนุรักษ์ 344 จุด ตามด้วยป่าสงวนแห่งชาติ 255 จุด พื้นที่เกษตร 190 จุด พื้นที่เขต สปก. 134 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 116 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 15 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด ได้แก่ ชัยภูมิ 183 จุด
ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่กัมพูชา 1,315 จุด ตามด้วย เมียนมา 1,310 จุด ลาว 233 จุด และเวียดนาม 184 จุด
ส่วนค่าฝุ่นของประเทศไทย เมื่อเวลา 08.00 น. 11 ก.พ.67 พบ 30 จังหวัด พบเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ที่ ลำพูน สุโขทัย สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ตาก กำแพงเพชร มุกดาหาร อุตรดิตถ์
กรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่น PM2.5 ระดับปานกลางหลายพื้นที่ และยังมีบางเขตที่มีคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ที่ ดอนเมือง, หลักสี่, หนองแขม, ทวีวัฒนา, บางบอน, พระโขนง, บางกอกใหญ่
#GISTDA
#จุดความร้อน