ในการรับฟังบรรยายสรุปโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร จ. พิษณุโลก ของนาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทานพร้อมคณะ
หม่อมหลวงอนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน กล่าวสรุปว่า ในพื้นที่ของสำนักงานชลประทานที่ 3 รับผิดชอบพื้นที่น้ำใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย อุตดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตรและนครสวรรค์ ซึ่งมีล้ำนำปิง ยม น่านไหลผ่าน ซึ่งขณะนี้พบว่ามีปริมาณน้ำเฉลี่ยร้อยละ 15 ของลำน้ำ และสำนักงานชลประทานที่ 3 ยังดูแลน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักในพื้นที่เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล ซึ่งจะเป็นน้ำต้นทุน ส่วนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขนาดใหญ่มีทั้งสิ้น 6 โครงการ เช่น โครงการส่งน้ำฯ เขื่อนนเรศวรที่มีเนื้อที่ชลประทาน 95,000ไร่ โครงการส่งน้ำพลายชุมพล 220,000ไร่ โครงการส่งน้ำฯ ดงเศรษฐี ที่มีพื้นที่ชลประทาน 168,000 ไร่และโครงการส่งน้ำฯ ท่าบัวมีเนื้อที่ 201,000 ไร่ ซึ่งทั้ง 6โครงการมีเนื้อที่ชลประทานทั้งสิ้น 1,600,000 ไร่ และยังมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขนาดกลางและขนาดเล็กอีกกว่าเกือบร้อยโครงการ ส่วนปริมาณน้ำปัจจุบันของเขื่อนภูมิพลมีน้ำใช้การได้ 1,140 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำใช้ได้ 1,612 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมีน้ำใช้งาน 179 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อส่งไปให้ประชาชนและเกษตรกรนั้น จัดเรียงตามลำดับความสำคัญ โดยจะจัดส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคก่อน จากนั้นจะเป็นการส่งน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียและรักษาระบบนิเวศรวมทั้งทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ดี ม.ล.อนุมาศ ยอมรับว่าด้วยปีนี้น้ำต้นทุนน้อยและหลายพื้นที่ประสบภาวะแห้งแล้งจัด มีแต่บ่อไม่มีน้ำและพื้นดินแตกละแหง สำนักงานชลประทานจึงได้ขอความร่วมมือกับเกษตรกรงดทำนาปรังเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูนาปี และด้วยในช่วงนี้ที่ถึงฤดูนาปีแล้ว ทางกรมชลประทานที่ 3 จึงได้วางแผนการส่งน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆไว้แล้ว เช่น ในโครงการส่งน้ำฯพลายชุมพลที่จะส่งน้ำให้เกษตรกรกว่า 55 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์วางแผนส่งน้ำไว้ 1 ล้านกว่าลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์จะช่วยเสริมการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานได้ 1,400,000 ไร่ อย่างไรก็ดีเนื่องจากในพื้นที่ 4 จังหวัดนี้มีพื้นที่ลุ่มต่ำจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือกันยายนของทุกปี สำนักกรมชลประทานจึงได้ปล่อยน้ำให้เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นมาเพื่อให้ทันต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนสิงหาคม และขณะนี้เกษตรกรก็เริ่มฤดูนาปีไปแล้วกว่าหลายแสนไร่ และทางสำนักงานชลประทานก็ได้วางแผนการส่งน้ำจากโครงการส่งน้ำฯทั้งหกแห่งและสถานีสูบน้ำในพื้นที่รับน้ำปกติและพื้นที่ลุ่มต่ำให้กับเกษตรกรเพื่อเตรียมแปลงและเริ่มทำการเพาะปลูกอีกกว่าหลายพื้นที่ด้วยรวมแล้วเป็นการส่งน้ำให้เกษตรกรกว่า 1,500,000ไร่
...ผสข.ธีรวัฒน์ สิทธิเกรียงไกร