หลังการประชุมคณะกรรมการระดับสูงไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 31 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพนั้น พล.อ. วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่า การประชุมวันนี้ เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงทั่วไปและการสร้างเสถียรภาพตามแนวชายแดน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันให้ขยายการพัฒนาและจัดการพื้นที่ชายแดนให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์และโรฮิงญา ซึ่งมาเลเซียพร้อมที่จะให้ความร่วมมือเช่นเดียวกับทุกประเทศ โดยจากนี้จะร่วมกันลาดตระเวนในพื้นที่ตามป่าเขาและลำน้ำมากขึ้นเพื่อสำรวจว่ามีชาวโรฮิงญาหรือไม่
ผบ.สส. ยอมรับว่าแม้ในอดีตจะมีลาดตระเวนร่วมอยู่แล้ว แต่ก็พบว่ายังไม่ได้เป็นการทำงานร่วมกันและมีการแบ่งการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในวันนี้ได้คุยกันว่าจะลาดตระเวนอย่างใกล้ชิดและรวมการทำงานของเจ้าหน้าที่เข้าหากัน และขอให้รอดูผลการประชุมปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ที่ไทยเป็นเป็นเจ้าภาพในวันที่ 29 พฤษภาคม จะมีแนวทางอย่างไรที่ชัดเจนต่อโรฮิงญา เพราะผู้กำหนดนโยบายการแก้ไขที่แท้จริงคือรัฐบาล ทหารมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ปฎิบัติตามต่ก็เชื่อว่าทุกประเทศจะช่วยกันแก้ไขปัญหาไม่ผลักภาระให้ไทยฝ่ายเดียว
ด้านพลโทปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวถึงปัญหาโรฮิงญาว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่ามีชาวโรฮิงญาอยู่เท่าใดในพื้นที่ตามป่าเขาถ้าพบเจออาจนำไปพักไว้ในสถานที่เหมาะสมก่อน ซึ่งขณะนี้ทราบว่ารัฐบาลกำลังมองหาสถานที่ดังกล่าวอยู่ คาดว่าอาจเป็นจ.สตูลหรือจ.สงขลา ส่วนหากพบว่ามีเรือชาวโรฮิงญาเข้ามาใกล้ฝั่งไทยนั่น ก็จะปฎิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่เน้นหลักสิทธิมนุษยชนและการช่วยเหลือ โดยจะสอบถามอาการต่างๆและให้เสบียงยังชีพ แต่หากพบว่าชาวโรฮิงญาต้องการเข้ามาขอพักที่ไทยก็จะดูสภาพก่อนและพิจารณาอีกครั้ง หากสมควรก็คงต้องอนุญาตให้ขึ้นมาฝั่งไทยเป็นการชั่วคราวตามหลักสิทธิมนุษยชน ช่วงแรกอาจให้นำไปไว้ที่ตรวจคนเข้าเมืองของจังหวัดก่อ และยืนยันว่ามีแผนที่รองรับเสมอ อย่างไรก็ดีคงต้องยึดนโยบายรัฐบาลเป็นหลักในการดำเนินงา
สำหรับใน ช่วงบ่ายวันนี้ นายกรัฐมนตรีจะประชุมทีมพูดคุยสันติสุข ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามความคืบหน้ากระบวนการพูดคุยสันติสุข กับกลุ่มผู้ที่เห็นต่าง โดยในส่วนแม่ทัพภาคที่ 4 ก็จะรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยที่ทำเนียบรัฐบาล