การแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดเผยว่า ต้องหามาตรการควบคุมชาวโรฮิงญาที่อพยพแบบผิดกฎหมายที่ขึ้นมายังไทยที่ขณะนี้ มีชาวโรฮิงญาอาศัยในไทยประมาณ 1 แสนคน โดยมองหาสถานที่เหมาะสมเพื่อไว้รองรับชั่วคราวอยู่ และจะต้องหามาตรการควบคุมเพิ่ม เพราะหากไม่ควบคุมและปล่อยให้เข้ามาจะส่งผลให้ชาวโรฮิงญาอพยพมามากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลดูแลไม่ไหว ส่วนชาวโรฮิงญาที่อยู่ในไทยขณะนี้ประสงค์จะไปนอกน่านน้ำไทยก็ไปได้แต่ต้องได้รับความปลอดภัย เชื่อว่าไม่มีประเทศไหนอยากจะรับชาวโรฮิงญานี้ดังนั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่ไทยจะต้องรับผิดชอบประเทศเดียวเหมือนกัน และจะต้องนำไปปรึกษากับประเทศเพื่อนบ้านและองค์การระหว่างประเทศเพื่อหามาตรการร่วมกัน ส่วนการจะของบช่วยเหลือจากองค์กรสหประชาชาติหรือยูเอ็นนั้นถือว่าทำได้ แต่ไม่รู้ว่ายูเอ็นจะให้หรือไม่ ยืนยันว่ารัฐบาลจะใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา แต่ขณะนี้ขอแก้ปัญหาประเทศเป็นหลักก่อน และจะต้องแก้ไขปัญหาแต่ละอย่างเป็นขั้นตอน เพราะหากไม่มการควบคุมใดๆเลย เชื่อว่าอนาคตประเทศจะย่ำแย่กว่านี้แน่
นายกรัฐมนตรี บอกว่า ขณะนี้ ยังไม่เห็นหนังสือ ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ส่งหนังสือชี้แจงเห็นควรให้ทำประชามติแต่อยากให้รอดูร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายที่ต้องผ่านมติสภาปฎิรูปแห่งชาติในวันที่6 สิงหาคมก่อน และช่วงนี้ อยู่ในระหว่างปรับแก้รัฐธรรมนูญ 60 วันด้วย ส่วนตัวเองก็ยังไม่มีความเห็นว่าควรทำประชามติหรือไม่ เพราะเกรงใจครม. เนื่องจากหากตัวเองบอกว่าเห็นหรือไม่เห็นด้วยก็อาจจะกลายเป็นการชี้นำได้ ส่วนการประชุมร่วมกันระหว่าง ครม. และคณะรักษาความสงบแห่งชาติปฎิบัติตามในที่ประชุมวันที่ 19 พฤษภาคม โดยขอหารือในที่ประชุมก่อน
ส่วนการจะทำประชามติต้องใช้ม. 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไข มิใช่ม. 44 หรือม. 4 ก็ขออย่าให้มีปัญหาเหมือนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอดีตก็พอ ส่วนหากจะทำประชามติแล้วต้องใช้งบกว่า 3 พันล้านบาทนั้น นายกฯระบุว่า ให้ไปถามประชาชนและหน่วยงานต่างๆแทนว่าคิดว่าคุ้มค่าและเหมาะสมที่จะทำหรือไม่ สำหรับ รูปแบบการทำประชามติอาจจะต้องปรึกษากับคณะกรรมาธิกาายกร่างฯและคณะกรรมาการการเลือกตั้งก่อน เพราะครม.และคสช.เป็นทหารไม่มีความรู้ด้านนี้นัก แต่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านหรือการทำประชามติที่ส่งผลให้ต้องเลื่อนการเลือกตั้งเป็นการยืดเวลาอำนาจของตัวเองออกไปหรือไม่นั้น นายกฯระบุว่า ตัวเองไม่ได้ต้องการอำนาจและไม่ประสงค์จะอยู่ต่ออยู่แล้ว เพราะมีแต่ปัญหาวุ่นวาย
สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติวันนี้ เป็นการหารือถึงการหาพลังงานทดแทนการวางระบบท่อก๊าซและการพัฒนาสายส่งไฟฟ้า เพื่อรองรับอนาคต ซี่งในอดีตรัฐบาลไม่เคยทำ ยืนยันว่าไม่มีการเอื้อประโยชน์ทับซ้อนกับกลุ่มใด ขณะนี้พลังงานรอบอ่าวไทยลดลงและมีราคาน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งอนาคตเพื่อนบ้านก็จะลดการส่งก๊าซดังนั้นจะต้องเร่งหาพลังงานทดแทน และวันนี้ได้ปรับลดน้ำมันสำเร็จรูปจากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 1 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงและแต่ละบริษัทก็มีสต็อกน้ำมันไว้อยู่แล้ว และยังได้เร่งให้ดูระบบสหกรณ์การเกษตร โดยให้แก้ไขปัญหาเป็นระยะไปก่อน พร้อมระบุว่าได้สั่งให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน