รมว.แรงงาน เสนอครม.พรุ่งนี้ ทบทวนมติไตรภาคี ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

11 ธันวาคม 2566, 13:36น.


          กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า มติคณะกรรมการไตรภาคีมีมติเห็นชอบอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2567  น้อยเกินไป นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยอมรับว่า อำนาจของรัฐมนตรีไม่สามารถทำอะไรได้ และเป็นเรื่องของบอร์ดไตรภาคี จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (12 ธ.ค.66) เพื่อสั่งให้ทบทวนใหม่  โดยมีเงื่อนไขต้องพิจารณาอัตราการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ค่าเงิน เงินเฟ้อ ค่าครองชีพ เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งปี 63-64 เป็นช่วงที่มีผลกระทบทั้งโลกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจติดลบหนักมา ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเฉลี่ยค่าแรงในปี 67 เพราะเศรษฐกิจปี 66 กำลังฟื้นตัวดีขึ้น จากปัจจัยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้น ปี 67 รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น เงินดิจิทัลคนละ 1 หมื่นบาท จำนวน 50 ล้านคน จึงต้องประเมินว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่จะนำตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงที่ตกต่ำที่สุดมาพิจารณา 



          แต่หากบอร์ดไตรภาคียืนยันกลับมา ก็คงทำอะไรยากมาก เพราะเรามีบอร์ดไตรภาคีแล้ว ไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้ ยกเว้นเอาเหตุผลมาโน้มน้าว แต่ปัญหาคือ การประชุมบอร์ดไตรภาคีปีนี้ที่ออกมา เคาะกันมาตั้งแต่ +2 บาท จนถึง +16 บาท เป็นมติเอกฉันท์ทั้ง 3 ฝ่าย (ลูกจ้าง นายจ้าง รัฐ) เห็นด้วยทั้งหมด เราเป็นฝ่ายรัฐจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จึงไม่มีประโยชน์



 



 



#ค่าแรงขั้นต่ำ 



#ทบทวนมติ

ข่าวทั้งหมด

X