ปตท.พร้อมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ปัจจัยสถานการณ์โลก เชื่อมโยงราคาพลังงานในอนาคต

22 พฤศจิกายน 2566, 18:03น.


          ทิศทางพลังงานในปัจจุบันกับการรับมือในอนาคต ในวันนี้ กลุ่มปตท.(PRISM Experts) ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเลียมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสวนา Change For Chance ปรับเปลี่ยน เพื่อไปต่อ สู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา 2023 The Annual Petroleum Outlook Forum ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Change for Chance: ปรับ เปลี่ยน เพื่อไปต่อ สู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต”เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 45 ปี ปตท. ยังคงมุ่งมั่นรักษาความมั่นคงด้านพลังงานพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและขยายสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โลกและเตรียมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สภาวะเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป





          แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันในปี2567 มีทิศทางเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ กำลังซื้อในสหรัฐอเมริกา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุโรป และการใช้น้ำมันในภาคการบินของจีนที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศ ขณะเดียวกัน อุปสงค์น้ำมันยังคงเติบโตในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานฟอสซิล อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและกฎหมายรองรับ มีส่วนทำให้อุปทานน้ำมันเติบโตอย่างจำกัด โดยคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในปี 2567 จะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในปี 2567 อยู่ที่ 75-85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล



          นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เน้นการวางกรอบประหยัดพลังงาน ในอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลได้เริ่มที่จะใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น จากปัจจุบันร้อยละ 14 เป็นมากกว่าร้อยละ 50  รวมถึงเชื้อเพลิงชีวภาพ และรถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มใช้มากขึ้น และแบตเตอรี่ ที่อยู่ระหว่างการเชิญชวนต่างชาติให้มาลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจและยั่งยืน





          นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ พร้อมที่จะทำให้ประเทศไทย เปลี่ยนพลังงานสะอาดที่จะต้องทำให้มากขึ้น โดยยกจากซาอุดิอาระเบีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ หันกลับมาใช้พลังงานสะอาดให้มากยิ่งขึ้นด้วย





          นอกจากนี้ ปตท. ยังได้ร่วมผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ มุ่งบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายที่ประเทศกำหนด ถือเป็นความท้าทายในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน





          ด้านนายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม กล่าวว่า ในปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง แต่โลกยังต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก



          การเดินหน้าสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต ให้เกิด “ความยั่งยืนด้านพลังงาน”จะเป็นการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ หรือ “Energy Trilemma” คือ 1.ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) คือการจัดหาพลังงานพื้นฐานและความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 2. ความเป็นธรรมทางพลังงาน (Energy Equity) คือการจัดหาพลังงานที่สามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม และ 3.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เป็นการจัดหาพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ต่ำ นับเป็นความท้าทายของกลุ่มบริษัทพลังงาน ในการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน 



          ทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน กลุ่ม ปตท. (PRISM Experts) คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 75 - 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล พร้อมจับตานโยบายควบคุมกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC+ เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศตะวันตกในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ





 



#พลังงานสะอาด



#ปตท

ข่าวทั้งหมด

X