นายแพทย์มนตรี เศรษฐบุตร อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า แพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นหนังสือขอให้ยุติความร่วมมือกับ ทาง ecohealth alliance จนกว่า การสอบสวนเรื่องที่ ecohealth alliance มีส่วนเกี่ยวข้องในการ สร้างเชื้อโรคโควิด ซึ่งเป็นอาวุธชีวภาพ จะได้รับการสอบสวนจนมีผลชัดเจน โดยมีนายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬา เป็นผู้รับหนังสือ
เมื่อวานนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้าให้การต่อคณะกรรมการสอบสวน กรณีที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ยุติการศึกษาเชื้อไวรัสจากค้างคาว โดย เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการสอบครั้งนี้เกิดจากการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพอุบัติใหม่ฯ ได้ประกาศยุติศึกษาเชื้อไวรัสจากค้างคาวว่ามีแนวโน้มจะเข้าในมนุษย์ได้หรือไม่ ที่ผ่านมาได้ร่วมโครงการปี 2011 ผ่านความเห็นชอบจาก รพ.จุฬาฯ ซึ่งได้ทุนวิจัยจากองค์กรต่างประเทศ กระทั่งตัดสินใจยุติปี 2020 และทำรายงานแจ้งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปี 2021
และแจ้งไปยังเครือข่ายขององค์การอนามัยโลก สาเหตุที่ต้องยุติเพราะไม่พบประโยชน์ในการคาดคะเนว่าเชื้อจะเข้ามนุษย์ได้หรือไม่ และสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อในขณะลงพื้นที่นำเชื้อมาศึกษา รวมถึงการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ และกังวลอาจจะติดเชื้อในชุมชนและทั่วไปได้ ทำให้เราเริ่มทำลายตัวอย่างเชื้อในปี 2022
ที่ผ่านมาเราไม่ได้เพาะไวรัสให้เพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ได้ตัดต่อพันธุกรรม และไม่ได้ส่งไวรัสไปต่างประเทศ หลังจากที่เราทำลายตัวอย่างหมด ยังมีการติดต่อมาขอตัวอย่าง ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการนำตัวอย่างไปศึกษาต่อหรือส่งไปต่างประเทศหรือไม่ หากเกิดการระบาดแล้วสืบสวนที่มาจะทำให้ประเทศเราตกเป็นผู้ต้องหาได้ การสอบสวนครั้งนี้ ตนนำหลักฐานทั้งหมดให้กรรมการพิจารณาว่าต้องยุติความร่วมมือกับสถาบันต่างๆเหล่านี้โดยเด็ดขาด.
ด้านเพจส่วนตัวคุณหมอธีรวัฒน์ตอบคำถาม ที่ว่า ทั้งๆที่ได้รับทุนจากสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2020 มากกว่า 300 ล้านบาท
ทำไมเราถึงเลิกและยุติการค้นหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า
คำตอบสั้นๆเข้าใจง่าย
* พิสูจน์ได้ว่าไม่เกิดประโยชน์
* อันตรายรอบตัวที่เกิดขึ้นได้ จากการสัมผัสกับสัตว์นำสิ่งคัดหลั่ง กลับมาห้องปฏิบัติการ
* โอกาสนำไปสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ออกไปยังชุมชน
#ต้นตอโควิด19
#ไทยยุติหาเชื้อโควิดจากค้างคาว