การรับฟังความคิดเห็นก่อนเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. นายเลิศศักดิ์ จิงหะรานนท์ รองผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ที่จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่โครงการจะตัดผ่านก็เพื่อมาศึกษาความเหมาะสมทางความคิดเห็นของประชาชน ,ระบบวิศวกรรม ,เศรษฐกิจ ,การลงทุน ,และผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปเป็นแนวทางเพื่อคัดเลือกหาแนวทางที่เหมาะสมก่อนเริ่มดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการมีความละเอียดรอบคอบ และเกิดประโยชน์ต่อภาพรวม ทั้งในท้องถิ่น และประเทศชาติมากที่สุด ทั้งในด้านการคมนาคม การขนส่ง และการท่องเที่ยว ขณะที่ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อนำประกอบในการศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินโครงการดังกล่าว นายบุญนาค อุบลเจริญ องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร สอบถามว่า หากมีการก่อสร้างโครงการ และหากมีการเวณคืนที่ดินจากประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนมากที่สุด นายกันต์ณธีร์ เนติโรจนชัย วิศวกรโครงการ ระบุว่า ในส่วนการชดเชยค่าเวณคืนที่ดินแก่ประชาชน จะมีคณะกรรมการจากกรมที่ดิน ,การทางพิเศษฯ ,ผู้บริหารท้องถิ่น และอีกหลายหน่วยงาน เข้ามาประเมินราคาค่าเวณคืนที่ดินเพื่อให้มีความเหมาะสม และเป็นธรรมอย่างแน่นอน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการกำหนดพื้นที่ว่าโครงการจะตัดผ่านตรงพื้นที่ใดบ้าง คาดว่า จะมีความชัดเจนราวปี 2559-2560
ส่วนนายสุรศักดิ์ พูนทรัพย์ เจ้าหน้าที่แขวงการทางกรุงเทพมหานคร สะท้อนข้อคิดเห็นว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าบ้างหรือไม่ ด้านนายกันต์ณธีร์ ชี้แจงว่า แนวทางการดำเนินโครงการได้คำนึกถึงเรื่องนี้เป็นหลัก จึงมีการวางโครงการให้หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปใกล้พื้นที่ป่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงคิดว่าน่าจะไม่มีผลกระทบต่อสัตว์ป่า ขณะที่ ความคิดเห็นส่วนใหญ่สงสัยว่า พื้นที่สิ้นสุดโครงการที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อาจจะเป็นการทำให้รถที่มาจากทางลอยฟ้า ไปบรรจบกับรถที่มาจากทางพื้นราบหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทำให้รถไปสะสมอยู่ที่จุดสิ้นสุดโครงการ
นายกันต์ณธีร์ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและรับความความคิดเห็น ปัญหาดังกล่าวทางทีมงานก็ตระหนักถึง ในเบื้องต้นก็อาจจะมีการปรับปรุงทางเชื่อมในจุดสิ้นสุดโครงการ เช่น อาจจะขยายช่องจราจรในช่วงทางลง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การทางพิเศษฯ ก็จะนำปัญหานี้ไปหารือกับกรมทางหลวง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน คาดว่าได้ข้อสรุปก่อนที่จะนำแผนโครงการมาเสนอกับประชาขนในพื้นที่นครนายกอีกครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ดำเนินก่อสร้างโครงการดังกล่าวครั้งต่อไป ประมาณเดือนมิถุนายน โดยจะมารับฟังความคิดเห็นแบบกระจายเป็นกลุ่มย่อย และเดือนสิงหาคม จะนำข้อสรุปของโครงการมาเสนอต่อประชาชน ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ใหญ่ครั้งที่ 3
วิรวินท์