ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทย จากเหตุสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังมองว่า เหตุความขัดแย้งดังกล่าวเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเฉพาะอิสราเอลกับฮามาสเท่านั้น ยังไม่เห็นการเข้าร่วมของประเทศที่ 3 ดังนั้น เชื่อว่าสงครามนี้จะไม่บานปลายไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และจะไม่ใช่สงครามที่ยืดเยื้อเหมือนกับรัสเซีย-ยูเครน และจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน เหตุการณ์จะซาลงอย่างไรก็ดี ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยในทางตรง คือ
1. แรงงานไทยที่ทำงานในอิสราเอล ซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงรายได้ ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐของไทย จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้
2. การค้าระหว่างไทย-อิสราเอล ซึ่งมีมูลค่าการค้าในแต่ละปี (ส่งออก-นำเข้า) รวมประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการส่งออกประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท และนำเข้าอีกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของมูลค่าการค้าโดยรวมของไทยในแต่ละปี อีกทั้งอิสราเอล ยังไม่ใช่คู่ค้าสำคัญในลำดับต้นๆ จึงเชื่อว่าสงครามดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อการค้าไทย-อิสราเอล มากนัก
3. นักท่องเที่ยวชาวอิสราเอล เดินทางเข้ามาในไทยแต่ละปีไม่มากนัก และการใช้จ่ายต่อหัวไม่ได้สูงมาก ดังนั้น หากคิดเป็นมูลค่าการค้า 4 หมื่นล้านบาท และการท่องเที่ยวอีกราว 1 หมื่นล้านบาท รวมๆ แล้ว 5 หมื่นล้านบาท/ปี จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.2-0.3 ของ GDP เท่านั้น เชื่อว่าทางตรงจะไม่มีผลกระทบที่รุนแรงนัก คงเป็นแค่ระยะสั้นๆ เท่านั้น
ส่วนผลกระทบทางอ้อม ทำให้ล่าสุดราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 4 ซึ่งจะมีผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะสั้น แต่คงไม่เกิน 1-2 บาท/ลิตร
#หอการค้าไทย
#อิสราเอลปาเลสไตน์