ม.หอการค้าไทย แนะรัฐบาลพิจารณาแจกเงินดิจิทัลเฉพาะกลุ่ม

06 ตุลาคม 2566, 21:06น.


          นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากประชาชน 1,280 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนไม่เห็นด้วยเรื่องการใช้ในรัศมี 4 กิโลเมตร ในสัดส่วนที่สูงสุด ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลว่าประชาชนมีความรู้สึกว่า 4 กิโลเมตร ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นการคล่องตัว



          ดังนั้น หากรัฐบาลมีช่องในการเปิด เพิ่มพื้นที่ เพิ่มรัศมีกิโลเมตรได้ ประชาชนอาจรู้สึกว่าคล่องตัวมากกว่านี้ อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีร้านค้าเยอะ ถ้าบางพื้นที่ที่มีร้านค้าจำนวนมากก็อาจเหมาะสมได้ ซึ่งถ้ารัฐบาลกำลังจะประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต อาจสำรวจพื้นที่ร้านค้า



          คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) อยากให้ใช้นโยบายดิจิทัลเฉพาะกลุ่ม และกันเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนเรื่องน้ำ เพราะปีหน้าเจอเอลนีโญ และอีกประเด็น คือ อยากให้รัฐบาลกำหนดใช้ Local content ซึ่งการให้ใช้ในพื้นที่ 4 กิโลเมตรคืออยากให้ใช้จ่ายในท้องถิ่น และจริงๆ ควรใช้ในสินค้าที่ถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก เพราะจะทำให้เกิดเงินสะพัดหมุนเวียนในประเทศ



          นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่รัฐบาลหวังหรือไม่ เมื่อมองผลกระทบของมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต่อเศรษฐกิจไทยปี 67 มูลค่ารวม 560,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างผลผลิตรวม หรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบ เป็นมูลค่า 1,614,517 ล้านบาท (ซึ่งคิดเป็น Output Multiplier เท่ากับ 2.88 เท่า) คิดเป็นมูลค่า GDP ณ ราคาประจำปีเท่ากับ 604,254 ล้านบาทโดยมองว่าผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นบวกในระยะสั้น แต่ยังมีความไม่ชัดเจน น่าจะทำให้อัตราการขยายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างน้อย 1.5-2.0% จากการคาดการณ์ Best Case อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการดังกล่าว อาจไม่ส่งผลบวกในระยะยาว



 



#ทบทวนแจกเงินดิจิทัล



#มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย





 



 



          ม.หอการค้าไทย แนะรัฐบาลพิจารณาแจกเงินดิจิทัลเฉพาะกลุ่ม



          นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากประชาชน 1,280 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนไม่เห็นด้วยเรื่องการใช้ในรัศมี 4 กิโลเมตร ในสัดส่วนที่สูงสุด ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลว่าประชาชนมีความรู้สึกว่า 4 กิโลเมตร ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นการคล่องตัว



          ดังนั้น หากรัฐบาลมีช่องในการเปิด เพิ่มพื้นที่ เพิ่มรัศมีกิโลเมตรได้ ประชาชนอาจรู้สึกว่าคล่องตัวมากกว่านี้ อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีร้านค้าเยอะ ถ้าบางพื้นที่ที่มีร้านค้าจำนวนมากก็อาจเหมาะสมได้ ซึ่งถ้ารัฐบาลกำลังจะประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต อาจสำรวจพื้นที่ร้านค้า



          คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) อยากให้ใช้นโยบายดิจิทัลเฉพาะกลุ่ม และกันเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนเรื่องน้ำ เพราะปีหน้าเจอเอลนีโญ และอีกประเด็น คือ อยากให้รัฐบาลกำหนดใช้ Local content ซึ่งการให้ใช้ในพื้นที่ 4 กิโลเมตรคืออยากให้ใช้จ่ายในท้องถิ่น และจริงๆ ควรใช้ในสินค้าที่ถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก เพราะจะทำให้เกิดเงินสะพัดหมุนเวียนในประเทศ



          นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่รัฐบาลหวังหรือไม่ เมื่อมองผลกระทบของมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต่อเศรษฐกิจไทยปี 67 มูลค่ารวม 560,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างผลผลิตรวม หรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบ เป็นมูลค่า 1,614,517 ล้านบาท (ซึ่งคิดเป็น Output Multiplier เท่ากับ 2.88 เท่า) คิดเป็นมูลค่า GDP ณ ราคาประจำปีเท่ากับ 604,254 ล้านบาทโดยมองว่าผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นบวกในระยะสั้น แต่ยังมีความไม่ชัดเจน น่าจะทำให้อัตราการขยายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างน้อย 1.5-2.0% จากการคาดการณ์ Best Case อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการดังกล่าว อาจไม่ส่งผลบวกในระยะยาว


ข่าวทั้งหมด

X