เนื่องจากฝนตกหนักในฤดูมรสุมในบังกลาเทศในระยะนี้ ดินแฉะชื้น มีน้ำสกปรกขังอยู่ในหลุมจุดต่างๆทั่วไป เป็นแหล่งเพาะยุงลาย พาหะของโรคไข้เลือดออก บีบีซีรายงานอ้างนพ.มุชแท็ก ฮุสเซน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของบังกลาเทศว่า การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในบังกลาเทศในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนเสียชีวิตแล้วเกือบ 1,000 ราย นับเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในบังกลาเทศ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบังกลาเทศ ระบุว่าพวกเขาอยู่ระหว่างเร่งหาทางสกัดการแพร่ระบาด เช่นรณรงค์ให้สาธารณชนรู้วิธีป้องกัน เช่น กำจัดน้ำขังในจุดต่างๆในบริเวณบ้าน ไม่ให้ยุงลายแพร่พันธุ์และมาตรการอื่นๆ ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลหลายแห่งเช่น ในกรุงธากา เต็มไปด้วยคนไข้ที่มีอาการหนักหลายร้อยคนรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู
โรงพยาบาลหลายแห่งขาดแคลน สารน้ำเช่น น้ำเกลือสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อรักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ นอกจากนั้น ผู้ป่วยหลายราย มีเลือดออกภายในร่างกาย ซึ่งอาจจะรุนแรงขั้นเสียชีวิต การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
สำหรับโรคไข้เลือดออกมีอาการ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของกลุ่มประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อน และการแพร่ระบาดมักจะเกิดในชุมชนเมือง ที่มีระบบสุขาภิบาล เช่นระบบระบายของอาคารย่ำแย่ ทำให้ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส เข้ามาแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลก(WHO)ระบุว่า WHO ได้รับรายงานเรื่องแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วทั้ง 64 อำเภอในบังกลาเทศ
#บังกลาเทศ
#โรคไข้เลือดออกระบาด