หลังจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาว นาย
ขั้นตอนการดูแลรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกจะยังใช้วิธีการแบบที่เคยประชุมไว้ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2566 คือ ถ้าอยู่ในเวลาราชการก็จะรับตัวและส่งศาลฏีกาในทันที แต่หากนอกเวลาราชการ ก็จะทำการส่งตัวไว้ที่สถานคุมตัวพิเศษ ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ถนนวิภาวดี ก่อน และจะย้ายตัวไปศาลฏีกาในเวลาราชการ จากนั้นสถานที่สุดท้ายคือนำตัวไปส่งที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้เตรียมพร้อมพื้นที่ เส้นทางการเดินทางทั้งหลักและรอง เป้าหมายการเดินทางตั้งแต่เริ่มต้นควบคุมตัวที่สนามบินดอนเมือง หรือสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสถานที่ต่างๆอย่างรัดกุม
จากสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการประชุมเตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ จากที่ประชุมกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีการพิจารณากำหนดเส้นทางการเดินทาง กองบังคับการตำรวจจราจร รวม 6 เส้นทาง
-เส้นทาง (หลักและรอง) จากสนามบินสุวรรณภูมิ มายังศาลฎีกา(สนามหลวง)
-เส้นทาง(หลักและรอง)จากสนามบินดอนเมืองมายังศาลฎีกา(สนามหลวง)
-เส้นทาง(หลักและรอง) จากสนามบินสุวรรณภูมิ มายัง บช.ปส.(กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด )เป็นสถานที่ควบคุมพิเศษ
-เส้นทาง(หลักและรอง) จากสนามบินดอนเมืองมายัง บช.ปส.
-เส้นทาง(หลักและรอง) จากบช.ปส.มายังศาลฎีกา (สนามหลวง)
นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาแนวทางวางกำลังรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกการจราจรพื้นที่เกี่ยวข้อง ตามเส้นทางการเดินทาง และแต่ละสถานที่ ทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ/สนามบินดอนเมือง/บช.ปส. และศาลฎีกา ซึ่งการจัดรูปแบบขบวนรถในการรักษาความปลอดภัย ให้ บก.จร.และบก.สปพ (กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ 191 ) พิจารณาแนวทางจัดรูปแบบขบวน
ด้านกรมราชทัณฑ์ นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นเมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศไทย ขั้นตอนแรกจะเป็นในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่จะรับตัวและทำบันทึกการจับกุมต่างๆ ตามขั้นตอน ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ต้องรอดูว่าจะมีคำสั่งหรือหมายศาลคดีใดแจ้งมายังกรมราชทัณฑ์เพื่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะได้เดินทางไปยังเขตพื้นที่ของศาลนั้นๆ จากนั้นเมื่อ นายทักษิณ เข้าสู่ขั้นตอนของศาลเสร็จสิ้น หากเป็นคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัว มายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
สำหรับกระบวนการจำแนกคัดกรองผู้ต้องขัง แม้จะเป็นกรณีของนายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ราชทัณฑ์ก็ดำเนินการตามขั้นตอนทั่วไป เป็นไปตามระเบียบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง โดยจะมีการตรวจสอบประวัติ ทำทะเบียนประวัติ อย่างไรก็ตาม นายทักษิณถือเป็นผู้ต้องขังสูงอายุ หากเจ้าตัวมีโรคประจำตัวที่จะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทางราชทัณฑ์จะมีแพทย์ประจำเรือนจำฯ ที่จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการจำแนกผู้ต้องขัง โดยจะนำตัวไปยังห้องกักโรคของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทำการกักโรคเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ประมาณ 10 วัน ถัดไปจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค ย้ายไปยังหอผู้ป่วย คล้ายกรณีของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ
ส่วนกรอบระยะเวลาของการรักษาโรคไม่ได้มีกำหนดไว้ จะเป็นในส่วนของแพทย์ประจำเรือนจำที่จะเป็นผู้ประเมินอาการของผู้ต้องขัง
#ทักษิณกลับไทย
แฟ้มภาพ