Center for Medical Genomics หรือ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบาย เรื่องโควิด-19 โอไมครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) ในไทยจะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
-ในช่วง 3 เดือน ประเทศไทย พบโอไมครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1.16 เพียง 1 % สรุปได้ว่า การระบาดของ EG.5.1 ในไทยไม่น่าจะรุนแรงแตกต่างไปจาก XBB.1.16 อย่างมีนัยสำคัญ ประเทศไทย พบ 6 คน หรือประมาณ 0.336% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย
ระยะนี้ควรเฝ้าติดตาม โอไมครอน EG.5.1 ของเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เพราะในประเทศสิงคโปร์ที่มีการระบาดของ EG.5.1 มาก และพบมีผู้ติดเชื้อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมี.ค.66
การติดเชื้อในสิงคโปร์ พบว่า ระหว่างวันที่ 23-29 เม.ย.66 มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 568 คน ในจำนวนนี้ 15 คน รักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) ขณะที่ ในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 2 ถึง 29 เม.ย.66 มีผู้ป่วย 47 คน เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู เพิ่มขึ้นจาก 43 คน ในช่วงสามเดือนแรกของปี กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ เชื่อว่า โรงพยาบาลในสิงคโปร์ สามารถรองรับได้ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นไม่น่าจะเกินจำนวนเตียงของโรงพยาบาล
ความชุกของโอไมครอน EG.5.1 ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันโดยตรวจจากจำนวนรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ปรากฏในฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID)ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดคือ
-ประเทศจีน 985 คน หรือ ประมาณ 7.228% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศจีน
-ในอาเซียนสูงสุด คือ ประเทศสิงคโปร์ 58 คน หรือประมาณ 1.567% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศสิงคโปร์
ปัจจัยที่ทำให้โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยในแต่ละประเทศ มีค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดที่แตกต่างกัน เช่น
• ประเภทของสายพันธุ์ย่อยที่แพร่ระบาดในประเทศนั้นๆ
• จำนวนตัวอย่างที่แต่ละประเทศได้ทำการถอดรหัสพันธุ์กรรมโควิด-19 ทั้งจีโนมและแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก "จีเสส"
• ช่วงเวลาที่คำนวณ
• อายุเฉลี่ยของประชากร
• อัตราผู้เข้าฉีดวัคซีนครบโดส รวมทั้งการรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
• วินัยของประชาชนในการใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การตรวจ ATK
• ประสิทธิภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขในการเข้าถึงประชากรทุกครัวเรือน
#โควิดโอไมครอน
CR:ขอบคุณข้อมูล Center for Medical Genomics