การแก้ไขปัญหาเรื่องประมงของไทย หลังจากที่คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยกิจการทางทะเลและประมงของสหภาพยุโรป หรือ อียู ประกาศให้ใบเหลืองไทยในการแก้ปัญหาดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ยืนยันว่า จะใช้คำสั่งมาตรา 44 ในการแก้ปัญหานี้ เพื่อให้อำนาจทหารเข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงาน เพราะต่างฝ่ายต่างทำงาน ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทยบกพร่องกับปัญหานี้มานาน จนนำไปสู่การถูกลดระดับความหน้าเชื่อถือ ขณะที่ปัญหาประมงที่ผิดกฎหมาย IUU ก็ได้มีการแจ้งเตือนมานานแล้ว และรัฐบาลของตัวเองก็พยายามแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้ แต่ก็ไม่รับประกันว่าจะแก้ปัญหาได้ ภายใน 6 เดือน ซึ่งรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญโดยเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งในเรื่องของการออกกฏหมาย รวมถึงการตรวจสอบผู้ประกอบการ ตลอดจนในเรื่องของเจ้าหน้าที่ในการตรวจเข้ม และความร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน โดยจะไม่ออกเป็น พระราชกำหนด ในขณะที่ พระราชบัญญัติ การทำประมง ยังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 มาบังคับใช้ก่อน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ว่ารัฐบาลได้แก้ปัญหา เช่น การติดตั้งจีพีเอส ในการติดตามเรือ และจดทะเบียนเรือ ซึ่งขณะนี้สามารถก็สามารถจดทะเบียนได้ 2-3หมื่นลำ แต่ยังเหลือส่วนที่ยังไม่กลับเข้าฝั่ง รวมถึงในเรื่องนี้เบื้องต้น ตัวเองก็ได้คุยกับผู้นำอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น เพื่อจัดตั้งกองเรือแก้ปัญหาทั้งระบบ ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมในการพูดคุยที่มาเลเชียที่จะเจอกันในการประชุมอาเซียนในสัปดาห์หน้า
ส่วนการช่วยเหลือแรงงานประมงที่อินโดนีเชีย นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี กับประเทศอินโดนีเชียในการดูแลแรงงานไทย ที่ถูกจับกุมจนกว่าจะสามารถส่งตัวกลับไทยได้ ซึ่งเบื้องต้นอินโดนีเชียก็จะมีการเปิดน่านน้ำ เพื่อตรวจสอบประมงที่ผิดกฏหมาย
ขณะที่หลังศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป หรือ ศปป. ได้เรียกแกนนำ พรรคการเมือง กลุ่มการเมืองต่างๆ รวมถึงนิสิตนักศึกษา เข้าให้ความเห็นเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต นั้น นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เป็นการเรียกมาเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ไม่ใช่เป็นการเรียกมาปรับทัศนคติ ซึ่งหลายคนก็เคยถูกเชิญมาพูดคุยในก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ไม่ยังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่องซึ่งเรื่องนี้เห็นว่าทุกคนควรที่จะปรองดองกันเพื่อทำให้บ้านเมืองเกิดความสมานฉันท์ ซึ่งไม่ว่าใครกระทำผิดก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม วันนี้ นายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหารระดับสูง พึ่งเดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ที่ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างตั้งแต่วันที่ 21-23 เมษายน
วิรวินท์