ภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/66 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ได้นำเสนอบทความ เรื่องคุณธรรมในสังคมไทยพบว่า คนไทยมีคุณธรรมด้านความกตัญญูมากที่สุด ส่วนความพอเพียงน้อยที่สุด คนไทยร้อยละ 43.5 มีคุณธรรมในระดับพอใจ ร้อยละ 36.9 มีคุณธรรมน้อยและควรปรับปรุง ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณธรรม พบว่า ผู้มีต้นทุนชีวิตในระดับสูงมีคุณธรรมเฉลี่ยสูงถึง 4.61 การมีต้นทุนชีวิตอาจช่วยให้คนมีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่า แรงงานคนรุ่นใหม่ในอนาคต พบว่า ทุนชีวิตด้านครอบครัวและชุมชนมีระดับไม่สูงนัก ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวและชุมชน เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการมีคุณธรรมในอนาคต
สำหรับสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ คือ โอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความเชื้อ หรือ มูเตลู จนทำให้กลายเป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ต้องมีการส่งเสริมที่เหมาะสม เช่น ในฮ่องกง มีวิถีการท่องเที่ยวเชิงศาสนา หรือในเมืองเทสซาโลนีกิ ประเทศกรีซ ทำแผนการท่องเที่ยวสายมู เชื่อมโยงกับสถานที่ ท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมถึงโฆษณาภาพลักษณ์ผ่านสโลแกน
นอกจากนั้นพบภาคธุรกิจ เช่น วิสาหกิจเพื่อสังคม กับการรองรับสังคมสูงวัย ด้านการจ้างงานพบว่า มีผู้สูงอายุที่ต้องการทำงาน 4,384,846 คน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ ร้อยละ 35.5 พบว่า ผู้สูงอายุมีความสุขในระดับปานกลางและน้อย
ด้านการออมของคนไทยพบว่า มีการออมที่ไม่ใช่ตัวเงิน เป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ในอนาคต เช่น การปลูกต้นไม้ใช้หนี้ เพื่อนำไปเป็นทรัพย์สินเพื่อค้ำประกันเงินกู้หรือชำหนะหนี้สิน เช่นเดียวกับการเลี้ยงโค กระบือ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ภาคเกษตรกรรมที่มีความพร้อมด้านพื้นที่และมีประสบการณ์ การทำเกษตรและปศุสัตว์
#ภาวะสังคมไทย
อ่านรายละเอียด https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5493&filename=socialoutlook_report