การบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8:2 ตีตกร่างพระราชกำหนดพระราชบัญญัติป้องกันฯและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่กำหนดให้ขยายเวลามีผลบังคับใช้จากเดือนกุมภาพันธ์เป็น เดือนตุลาคม ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหน่วยงานรับผิดชอบยังไม่พร้อม โดยเฉพาะมาตรา 22 กำหนดให้ในการควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวไป รวมถึงการแจ้งให้การจับกุม การควบคุมตัวให้พนักงานอัยการ ฝ่ายปกครองรับทราบ
ล่าสุด พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกประชุมด้วยเพื่อรองรับกับการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ โดยกล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้ ตร.จะขาดแคลนอุปกรณ์ อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดหา แต่ก็เน้นย้ำให้หน่วยบริหารจัดการตามที่มีอยู่เดิม ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เบื้องต้น ตร. มีกล้องติดตัวเดิม 120,597 ตัว กำลังพล ตร. ที่จะใช้ 160,000 นาย อยู่ระหว่างจัดหาอีกราวๆ 37,000 ตัว โดยได้เร่งให้ทางสำนักงานส่งกำลังบำรุง รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์เครื่องบันทึกภาพและเสียง และ เร่งให้ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.) รับผิดชอบจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลการบันทึกภาพและเสียง คาดว่าจะเสร็จสิ้นและส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ประมาณต้นเดือนกันยายน 2566
เบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบในการจับและควบคุมตัว บันทึกข้อมูลภาพและเสียงลงในเครื่องคอมพิวเตอร์หน่วยงานของตนเองไปพลางก่อน โดยในการเก็บข้อมูลให้จัดทำให้ปรากฏชื่อและนามสกุลของผู้ถูกจับ พร้อมทั้งหมายเลขประจำวันไว้ด้วย ส่วนการจัดเก็บในระบบภาพรวม ตร. ขณะนี้ สทส. อยู่ระหว่างการจัดหาระบบจัดเก็บข้อมูลภาพและเสียงในระบบ CRIMES ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.66
#คุมตัวผู้ต้องหา
#ขัดรัฐธรรมนูญ
แฟ้มภาพ