กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ประกาศ ฉบับที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 9 พ.ค.66 เรื่องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. ติดตามสภาพอากาศ พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน โดยคาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12 -14 พ.ค.66 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 12-14 พ.ค.66 ดังนี้
1. ภาคเหนือ
-จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี)
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอคำม่วง ท่าคันโท ยางตลาด และห้วยเม็ก)
-จังหวัดขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น กระนวน ชุมแพ น้ำพอง และพระยืน)
-จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอแก้งคร้อ และภูเขียว)
-จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอนาดูน และพยัคฆภูมิพิสัย)
-จังหวัดยโสธร (อำเภอค้อวัง คำเขื่อนแก้ว และมหาชนะชัย)
-จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู)
-จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ และราษีไศล)
-จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน เดชอุดม เมืองอุบลราชธานี พิบูลมังสาหาร และม่วงสามสิบ)
การเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำนองระบายไม่ทัน
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพทันทีหากเกิดสถานการณ์
#น้ำท่วม
#น้ำป่า
CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ