เงินหมุนเวียนในช่วงเปิดเทอม นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยอมรับว่า ผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปี 66 พบว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปีนี้ จะมีมูลค่าการใช้จ่ายรวม 57,885.63 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 62 ที่ร้อยละ5.30 โดยในปีนี้ถือว่ามีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุด นับตั้งแต่หอการค้าทำการสำรวจมา (ในรอบ 14 ปี) ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของปี 66 อยู่ที่ 19,507.33 บาท/คน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.6 จากปี 62 ที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 18,299.94 บาท/คนจากเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1-2ของปีนี้ ฟื้นตัวแบบ K-shape โดยผู้คนยังระมัดระวังจากการจับจ่ายใช้สอย เพราะบางกลุ่มมีเงินพร้อมใช้ แต่บางกลุ่มยังได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพสูง จากผลสำรวจพบว่าร้อยละ 37.8 ผู้ปกครองใช้จ่ายเท่าเดิม และร้อยละ 29.9 ใช้จ่ายมากขึ้น โดยปัจจัยของการใช้จ่ายที่มากขึ้น หลักๆ มาจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น
นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ปกครองร้อยละ36.5 ระบุว่า มีเงินไม่พอใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม จึงมีการเบิกเงินจากบัตรเครดิต/ บัตรกดเงินสดมากขึ้น ได้มีการกู้เงินในระบบและนอกระบบ ซึ่งกู้เงินนอกระบบมีประมาณร้อยละ7 ซึ่งถือว่าไม่มาก
โดยการเบิกเงินและกู้เงินดังกล่าว นายธนวรรธน์ ไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจไม่ดี หรือจะกลายเป็นปัญหาเพิ่มหนี้สินในระยะยาว เพราะเป็นเพียงการหมุนเวียนเงินในช่วง 2-3 เดือนเท่านั้น เนื่องจากสัดส่วนผู้ปกครองที่ตอบว่ามีเงินไม่เพียงพอ ถือว่าต่ำสุดในรอบ 8 ปี หรือตั้งแต่ปี 59 รองลงมา คือจำนำทรัพย์สิน กู้เงินในระบบ และยืมญาติพี่น้อง ส่วนของผู้ที่ตอบว่าเงินมีเพียงพอใช้จ่าย อยู่ที่ร้อยละ63.5 หรือสูงสุดนับตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นมา
#เศรษฐกิจไทย
#เปิดเทอม