กรมโรงงาน ชี้ควรเพิ่มโทษ หากนำ ไซยาไนด์ ไปใช้ในทางที่ผิด ประสาน สธ.ออกกฎเกณฑ์ให้ชัด

28 เมษายน 2566, 11:11น.


          คดีอาชญากรรมที่ผู้ต้องหาใช้สารไซยาไนด์วางยาเหยื่อทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก คุณจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้แจงเพิ่มเติมกับจส.100 เรื่องวัตถุอันตรายไซยาไนด์ว่าในกรณีที่เป็นข่าวพอจะทราบแล้วแหล่งการซื้อ-ขายบ้างแล้ว ซึ่งวัตถุอันตรายนี้ มีการควบคุมทั้งการนำเข้า-การผลิต และห้ามมีไว้ในครอบครอง และมีข้อกำหนดไว้คือ ส่วนโรงงาน ต้องแจ้งให้ทราบ หากครอบครอง 100 กก.หรือภายใน 6 เดือน ส่วนร้านค้า ต้องแจ้งให้ทราบหากมีครอบครอง 1,000 กก. ซึ่งจะมีไว้ขายตามโรงงานเล็กๆ หรือว่าขายให้กับห้องแล็บ



          ในกรณีการซื้อ-ขายออนไลน์ กฎหมาย พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ครอบคลุมยังไม่ถึง ซึ่งอาจต้องมีการตรวจสอบเพิ่มกับหน่วยงานอื่น เช่น ตร.ไซเบอร์



          หลังจากนี้คงต้องหารือกับหน่วยงานที่ต้องใช้วัตถุอันตราย เช่น กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีการออกกฎเกณฑ์การใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ และสำหรับผู้ใช้งานเท่านั้น หรือไม่ก็อาจต้องกำหนดโควต้าในการใช้ให้เข้มมากขึ้น คงต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)หลังจากนี้ต่อไป



        ขณะเดียวกัน หากนำสารเคมีอันตราย ไปใช้ในทางผิดๆ กฎหมายน่าจะมีบทลงโทษหนักกว่าเดิม



        เพจ กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับตรวจวิเคราะห์



-ยืนยันไซยาไนด์ในตัวอย่าง น้ำล้างกระเพาะ อาหาร หรือ วัตถุต้องสงสัย



-ปริมาณไซยาไนด์ ในตัวอย่างเลือด



-ปริมาณเมตาบอไลต์ไทโอไซยาเนต ในตัวอย่างปัสสาวะ



 





#ไซยาไนต์



CR:กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวทั้งหมด

X