ในช่วงนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนให้ระวังเรื่องอันตรายจากพายุฤดูร้อน ส่วนข้อมูลสำคัญ ข้อสังเกตของพายุฤดูร้อน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะถ้ามีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่อง มีโอกาสสูงที่พายุฤดูร้อนจะรุนแรงมากขึ้น โดยจะมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกและฟ้าผ่าด้วย
ผลกระทบ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นจำนวนมาก แม้จะเกิดในบริเวณไม่กว้างนัก ลมกระโชกแรง สามารถพัดทําลายสิ่งต่างๆบนพื้นดิน ต้นไม้ สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง ลูกเห็บสร้างความเสียหายให้บ้านเรือนและผลผลิตทางการเกษตร ฟ้าผ่าเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ ฝนที่ตกในเขตเมืองที่ระบายไม่ทัน อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ได้
การเตรียมการรับมือ
-ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
-หลบเลี่ยงบริเวณที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง อยู่ภายในอาคารที่แข็งแรง หรือในรถยนต์
-หลีกเลี่ยงวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ แนวรั้วและอุปกรณ์ทำสวน
-ไม่ควรใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดและไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับ โลหะขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
-สัตว์เลี้ยงไม่ควรสวมใส่โลหะและผูกไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่
-ควรดูแลสิ่งของ เช่น ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า และ บ้านเรือน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนวันนี้ (24 เม.ย.66) มี 24 จังหวัดเสี่ยงภัยพายุฤดูร้อน
-ภาคเหนือ: น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และ ตาก
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:บึงกาฬ หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ และ เลย
-ภาคตะวันออก:ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และ ตราด
เมื่อเวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 5
#พายุฤดูร้อน
CR:ข้อมูล-ภาพ กรมอุตุนิยมวิทยา