เยอรมนีปิดเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแห่งสุดท้ายในวันนี้ แม้จะมีความกังวลด้านพลังงาน

15 เมษายน 2566, 15:17น.


          เยอรมนีปิดทำการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งสุดท้ายของประเทศในวันนี้ (15 เม.ย.66) แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าในประเทศ หลังจากที่สูญเสียแหล่งก๊าซธรรมชาติรัสเซียจากเหตุวิกฤตยูเครน



          เยอรมนี เริ่มดำเนินโครงการลดการพึ่งพิงพลังงานนิวเคลียร์ตั้งแต่ในปี 2545 และเร่งการทำงานให้มีความคืบหน้ามากขึ้นเมื่อเกิดภัยพิบัติฟูกูชิมะ ในปี 2554 แต่หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครน และต้องยุติการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ขยายเวลาการปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไปก่อน แต่นายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ให้ขยายเวลามาจนถึงวันที่ 15 เมษายน 2566 เป็นวันสุดท้าย



          เดิมเยอรมนีใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ประมาณร้อยละ 30 แต่ปัจจุบันมีการทดแทนด้วยพลังงานจากถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มความสามารถในการนำเข้า LNG อีกมากกว่า 5 เท่าภายในปี 2573 เป็นเกือบ 71 ล้านตันต่อปี และต้องเร่งติดตั้งกังหันลมเพื่อเพิ่มการผลิตไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 46 ของแหล่งจ่ายไฟ



          อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ARD พบว่าชาวเยอรมันร้อยละ 59 เห็นว่า การตัดสินใจของรัฐบาลในการละทิ้งพลังงานปรมาณูนั้นไม่ถูกต้อง ในขณะที่ร้อยละ 34 เห็นด้วย



          นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 ยังต้องการให้เครื่องปฏิกรณ์ทำงานต่อไป และค่าไฟฟ้าอาจสูงขึ้น



..



#โรงไฟฟ้านิวเคลียร์



#เยอรมนี

ข่าวทั้งหมด

X