หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM เตือนหลายจังหวัดทั่วไทย ระวังพายุฤดูร้อนในช่วงสงกรานต์ ล่าสุด
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 58 จังหวัดที่มีความเสี่ยงรับมือฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย.66
- ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง 24 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และเพชรบุรี
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานแจ้งเตือนลักษณะอากาศเพิ่มเติมในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย.66
-ภาคเหนือ กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง:อากาศร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง 30-40% ลมแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่
-ภาคตะวันออก:อากาศร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง 40-60% ลมแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่
ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายวิชาการ หรือโฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว PPTV เตือนสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่งผลให้ดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน มีค่าสูงขึ้น และหากประชาชน สัมผัสอากาศร้อน เป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรกได้ โดยแนะนำให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ ลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า อุณหภูมิที่จ.ตาก เมื่อวันที่ 12 เม.ย.66 สูงสุด 42.9 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.ตาก มีโอกาสที่อุณหภูมิจะสูงกว่านี้ได้อีก เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติอุณหภูมิสูงสุดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงการคาดการณ์ฝนปีนี้ มีโอกาสตกน้อยกว่าปีที่แล้ว และเน้นย้ำให้ประชาชนรักษาสุขภาพ รวมถึงให้เฝ้าระวังพายุฤดูร้อนที่จะส่งผลกระทบช่วง 15-16 เม.ย.66
#พายุฤดูร้อน
CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมอุตุนิยมวิทยา,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยDDPM