ผลวิจัยสหราชอาณาจักรระบุผลข้างเคียงวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปีเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

31 มีนาคม 2566, 17:10น.


          หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ของสหรัฐฯ รายงานอ้างคำเปิดเผยของนายวาฮี นาฟิยัน (Vahé Nafilyan) นักสถิติอาวุโสจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร หนึ่งในหัวหน้าทีมนักวิจัยที่ศึกษาวิเคราะห์การฉีดวัคซีน และสถิติการเสียชีวิตของผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications) โดยวิเคราะห์การเสียชีวิตที่เกี่ยวโรคหัวใจของหญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งพบจำนวน 6 รายต่อประชากร 100,000 คน หลังรับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส โดยเป็นอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับโรคหัวใจสูง 3.5 เท่าในระยะ 12 สัปดาห์ หลังรับวัคซีน เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน



          สหราชอาณาจักรมีข้อห้ามใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสำหรับคนวัยหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 30 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แต่กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนในช่วงเวลานั้นคือบุคลากรสาธารณสุข และกลุ่มผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ เนื่องจากคนอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และบุคลากรสาธารณสุขถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะต้องรับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ



          ส่วนสหรัฐฯไม่อนุญาตให้ใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามาตั้งแต่แรก เนื่องจากมีผลวิจัยบ่งชี้ว่า สตรีอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจจะเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจใน 12 สัปดาห์หลังการรับวัคซีน แต่ที่ผ่านมา มีการกระจายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากว่า 3,000 ล้านโดสไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 กว่า 170 ประเทศอนุญาตให้ใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แม้ว่าในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา บางประเทศอนุญาตให้ใช้วัคซีน mRNA รุ่นใหม่สำหรับการฉีดบูสเตอร์ เนื่องจากสามารถต้านไวรัสโอไมครอน



          สำหรับภาวะลิ่มเลือดอุดตันอาจจะทำให้คนไข้มีอาการหัวใจกำเริบ หรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบ



...



#ผลวิจัยผลข้างเคียงวัคซีน



#วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า



 

ข่าวทั้งหมด

X