*รัฐบาลชี้แจงผลกระทบการบิน หลังกรมการบินพลเรือนถูกความน่าเชื่อถือ*

03 เมษายน 2558, 11:19น.


กรมการบินพลเรือนหารือกับกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น(JCAB)วันนี้   เพื่อลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในการแก้ปัญหาการระงับเที่ยวบินจากไทย ตามการตรวจสอบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)   พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นวันนี้ ได้รับมอบหมายให้แถลงข่าวร่วมกับฝ่ายความมั่นคง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะชี้แจงเรื่องความมั่นคง ซึ่งผลกระทบด้านการบินที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่กระทบกับความมั่นคง จึงต้องชี้แจงให้สาธารณะชนรับทราบและเข้าใจตรงกัน โดยหากเข้าใจปัญหาคลาดเคลื่อนอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งทางด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวของประเทศ 4 ประเด็นที่จะแถลงประกอบด้วย 1. การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ 2. เรื่องปัญหาการใช้แรงงานในเรือประมง3. การค้ามนุษย์ และ4. การบินที่ไอซีเอโอเข้ามาตรวจสอบไทย



หลังจากที่ บพ.ส่งทีมไปเจรจากับ JCAB ทำให้มีความมั่นใจว่าจะสามารถปรับแผน แก้ไขข้อบกพร่องเพื่อนำไปสู่การยกเลิกประกาศข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns – SSC) จากทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้อย่างแน่นอนภายใน 60 วันที่เหลืออยู่



ส่วนเรื่องการพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับรายใหม่นั้น ได้สั่งให้ชะลอไว้ก่อนจะต้องแก้ไขความพร้อมบุคลากรก่อน โดยต้องมีการรับคนเข้ามาทำงานเพิ่ม เพราะต้องตั้งสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติ เป็นองค์กรใหม่ และเพิ่มเจ้าหน้าที่ในส่วนการพิจารณาออกใบอนุญาตการบิน ซึ่งขณะนี้มี 16 คน ต้องเพิ่มให้ได้ไม่น้อยกว่า 32 คน และอาจรับคนรุ่นใหม่เพิ่มเข้ามาอีก



ก่อนหน้านี้ นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า เบื้องต้นผลการเจรจายังไม่ได้ข้อสรุปแต่มีแนวโน้มได้ข้อตกลงร่วมกันทางที่ดี ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาและลงนามเอ็มโอยูได้ในวันที่ 3 เม.ย.2558นี้ อย่างแน่นอนสำหรับการอนุมัติให้สายการบินของประเทศไทยทั้งที่จะขอเที่ยวบินเพิ่มและเที่ยวบินเช่าเหมาลำนั้น อาจจะมีการต้องรอผลการเจรจาส่วนประเทศอื่นๆขณะนี้ยังไม่มีปัญหาในลักษณะเดียวกับญี่ปุ่น แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในวันที่ 3 เม.ย.นี้ จะเดินทางไปทำความเข้าใจกับกรมการบินพลเรือนเกาหลีใต้ ซึ่งในเบื้องต้นนั้นมีสายการบินเอเชีย แอตแลนติก แอร์ไลน์ส ที่เป็นสายการบินเช่าเหมาลำเพียงสายการบินที่เดียวที่ได้ไม่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มเที่ยวบินตามที่ขอเพิ่มเที่ยวบิน     พร้อมกันนี้ก็จะเดินทางไปทำความเข้าใจกับประเทศจีน



ส่วนกรมการบินพลเรือนของประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นแค่ความต้องการเพิ่มความถี่ในการตรวจเครื่องบินสายการบินของประเทศไทยเมื่อลงจอดที่สนามบินภายในประเทศสิงคโปร์ทุกลำอย่างละเอียดซึ่งยังไม่ได้มีการห้ามบินแต่อย่างใด



 



แฟ้มภาพ

ข่าวทั้งหมด

X