การเสนาการปฎิรูปที่ดินของคณะกรรมาธิการปฎิรูปการเมืองและสถาบันปฎิรูปประเทศไทยนาย วิวัฒน์ ศัลยกำธร รองประธานกรรมาธิการปฎิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาปฎิรูปแห่งชาติ ระบุว่า ขณะนี้ทรัพยากรเสื่อมโทรมมาก เพราะมีการบุกรุกเกินขอบเขต โดยการปฎิรูปที่ดินต้องเริ่มตั้งแต่การปฎิรูปด้านการศึกษาที่เป็นสิ่งสำคัญในทุกด้าน และการปฎิรูปต้องมีระบบวิธีคิดที่ไม่เป็นระบอบทุนนิยมเกินไป เพราะจะเอื้อต่อการบุกรุกของนายทุน และการเข้าครอบครองที่ดินของชาวต่างชาติ นาย วิวัฒน์ ระบุว่า ตัวเองมองว่าต้องให้เสรีภาพทางการศึกษา โดยควรมีคณะกรรมการปฎิรูปการศึกษาจัดตั้งขึ้นมาในระยะยาว เพื่อสอนให้เยาวชนรุ่นหลังรู้จักผลประโยชน์ของที่ดินและมาตรการการจัดสรรอย่างเป็นระบบ พร้อมระบุว่าหากการศึกษาได้รับการปฎิรูปอย่างเป็นระบบ จะทำให้การปฎิรูปทุกด้านของประเทศมีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนมาตรการแก้ไขการถือครองที่ดินในขณะนี้ มองว่าต้องกระจายการถือครองที่ดินให้ประชาชนทีอู่ตามชุมชนแออัดมีพื้นที่มากขึ้น และมีมาตรการที่จริงจังโดยควรมีฐานระบบคำนวณการจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรมให้กับประชาชน อีกทั้งภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็งให้มากขึ้น โดยรัฐควรเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรที่ดิน รวมทั้งควรมีรูปแบบการจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรมด้วย
ขณะที่นาง เปรมจิต สังขพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ก็ระบุว่า การจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้มาจากการสำรวจไว้แล้วของกรมป่าไม้ สำนักงานแค่นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรให้ถูกต้อง และนำเกษตรกรมารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตสินค้า นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสำนักงานโฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่ในการออกใบอนุญาตรับรองโฉนดชุมชุน โดยยืนยันว่าได้จัดสรรที่ดินให้เฉพาะกับเกษตรกรเท่านั้น ไม่ได้ให้กลุ่มนายทุนเข้ามาถือครองที่ดินดังกล่าว ทั้งนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคม จะมีการนำเสนอร่างกฎหมายการปฎิรูปที่ดินให้กับคณะรัฐมนตรีหรือครม. โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดีระบุว่าการจะปฎิรูปที่ดินนั้นต้องได้รับความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่เพื่อการจัดสรรอย่างเป็นรูปธรรมด้วย โดยขณะนี้สปก.ได้จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรเสร็จแล้วกว่า 35 ล้านไร่ ขาดอีกราว 2-3 ล้านไร่ ที่ต้องจัดสรรให้กับเกษตรกรเพิ่มเติ่ม คาดว่าจะช่วยเกษตรกรมีที่ดินทำกินได้อีกอย่างน้อย 14,000คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่จากกรมป่าไม้