นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีเป้าหมายให้ปี พ.ศ. 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน โดยในการที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ครูอย่างต่อเนื่อง พบว่า ในปัจจุบันพบว่ามีครูกว่า 900,000 คนทั่วประเทศ หรือประมาณร้อยละ 80 มีหนี้รวมกัน 1,400,000 ล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 890,000 ล้านบาท รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน 349,000 ล้านบาท ร่วมด้วยธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ และสถาบันการเงินอื่นๆ
ภาพรวมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูว่า ที่ดำเนินการแก้ไขไปแล้ว ได้แก่
1) ลดดอกเบี้ยเงินกู้ มีสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลงเฉลี่ยร้อยละ 0.3 ลูกหนี้ได้รับประโยชน์กว่า 400,000 ราย รวมภาระหนี้สินที่ลดลงกว่า 2,200 ล้านบาท
2)ปรับโครงสร้างหนี้ โดยการรวมหนี้มาไว้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูฯ หรือสถาบันการเงิน ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่า เพื่อให้ครูมียอดชําระต่อเดือนน้อยลง และเหลือ เงินเดือนหลังหักชําระไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30
3) กําหนดให้สามารถหักเงินสวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค)ในกลุ่มแรก (ร้อยละ 70 ของเงินเดือน) เพื่อให้สามารถใช้เงิน ช.พ.ค เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 360,000 ราย ที่ใช้ ช.พ.ค เป็นหลักประกันเงินกู้ส่งผลให้ผลให้ครูไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อทำประกัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงกว่า 2,300 ล้านบาท
สำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้ครูผ่านสถานีแก้หนี้ 588 แห่งทั่วประเทศ มีครูลงทะเบียนแก้หนี้แล้วมากกว่า 40,000 คน มูลค่าหนี้รวมกว่า 58,000 ล้านบาท สามารถแก้ปัญหาหนี้ไปแล้ว 11,090 คน หรือประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ลงทะเบียน ที่เหลือ กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับธนาคารออมสินและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จะจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ “ปิดเทอม เรื่องหนี้ มีทางออก” เป็นเวทีกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย นำร่องที่จังหวัดกำแพงเพชร เริ่ม 4 ตุลาคม นี้ ก่อนขยายผลจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครูในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป
...
#หนี้ครู