การติดตามความคืบหน้า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร -นครพนม ที่ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต ในพื้นที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ (กปร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความคืบหน้าของโครงการฯ นายพิศิษฐ์ ผลิสินเอี่ยม ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ สำนักชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน กล่าวรายงานว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เป็นโครงการในพระราชดำริฯ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ริม 2ฝั่งแม่น้ำก่ำ ก่อนที่จะมีโครงการดังกล่าวฯ จะประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูฝน และจะขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง อย่างนี้มาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่แถบนี้เป็นที่ลุ่ม จึงทำให้ระบบชลประทานไม่มีความมั่นคงฯ และภายหลังจากที่มีพระราชดำริฯ ให้มีแผนการก่อสร้างเมื่อปี 2535 ก็เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2537 และเริ่มเปิดดำเนินโครงการในปี 2549 แต่มีการเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2553 ทั้งนี้ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เป็นโครงการที่เป็นการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำก่ำ ซึ่งต้นน้ำอยู่ที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร และไหลผ่านลุ่มน้ำก่ำ ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ของจังหวัดนครพนม โดยตลอดลุ่มน้ำจะมีประตูระบายน้ำทั้งหมด 7แห่ง ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 53,073,000ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานประมาณ 165,000ไร่ โดยประตูหลักที่คอยควบคุมระดับน้ำ และเป็นประตูสุดท้ายที่น้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง คือ ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต ในพื้นที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดใน 7ประตูน้ำในลุ่มน้ำก่ำ อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ยังกระจายน้ำไปกักเก็บไว้ในบึงขนาดใหญ่อีก 15แห่ง ของจังหวัดสกลนคร และนครพนม รวมถึงแหล่งน้ำคูคลองต่างๆอีกหลายแห่ง ซึ่งโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม นี้ตั้งแต่แล้วเสร็จก็ทำให้ประชาชนในพื้นที่ริม 2ฝั่งของแม่น้ำก่ำ มีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี และทำให้ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ของเกษตรกรไปได้มาก เนื่องจากมีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ
ด้านนางพาณี ไชยพันธุ์ เกษตรกรผู้ที่ใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำก่ำ เปิดเผยว่า ตัวเองประกอบอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก และปลูกผลไม้ต่างๆควบคู่ไปด้วย เช่น มะม่วง ,ฟักทอง ,กล้วย เป็นต้น แต่เมื่อช่วงอดีต ที่ยังไม่มีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จะใช้น้ำจากในลำห้วยใกลเคียง และน้ำบาดาล ซึ่งทำให้ไม่เพียงพอในการอุกโภค-บริโภค รวมถึงเพาะปลูก และปลูกข้าวได้เพียงปีละ 1ครั้งเท่านั้น และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูน้ำหลาก พื้นที่นาก็จะไม่สามารถปลูกได้ แต่เมื่อมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ก็ทำให้ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร และมีน้ำเพียงพอกับการปลูกข้าว และยังปลูกได้ถึงปีละ 2ครั้ง ซึ่งถือว่าเมื่อมีโครงการในพระราชดำริฯ นี้ก็ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรอบๆโครงการมีชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ภายหลังจาก องคมนตรี และคณะผู้บริหาร -เจ้าหน้าที่ กปร. รับฟังบรรยายความคืบหน้า โครงการฯ องคมนตรีก็ได้เดินทางไปดูพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร ในตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดสกลนคร และได้มอบพันธุ์ข้าวภูพาน1 แก่เกษตรกร เพื่อใช้ในการเพาะปลูก
วิรวินท์