ตัวแทนของกรุงเทพธนาคม เปิดเผยว่า ในเช้าวันพรุ่งนี้(8 ก.ย.) จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) โดยรศ.ธงทอง จันทรางศุ เป็นประธาน ในเวลา 8.30-11.00 น.เพื่อพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง จากนั้น จะเสนอให้นายชัชชาติสิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาต่อไป
ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) เพื่อขอให้ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม ร่วมกันจ่ายเงินในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 -พฤษภาคม 2564 รวมดอกเบี้ย 2,348 ล้านบาท
และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เมษายน 2560-พฤษภาคม 2564 รวมดอกเบี้ย 9,406 ล้านบาท รวมทั้งสองส่วนต่อขยายเป็นเงิน 11,754 ล้านบาท และให้ชำระเงิน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ได้มีการหารือนัดแรก ระหว่างรศ.ธงทอง ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กับนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทุกฝ่ายมีมติ ตั้งคณะทำงานเพื่อมาพูดคุยเรื่องตัวเลขต่างๆ ที่อาจยังมีความเห็นต่างกันอยู่ รวมทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเดินรถ เพื่อดูในข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งอาจมีปัจจัยหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆหรือในส่วนของค่าโฆษณาบนตัวรถไฟฟ้าที่ไม่มีการระบุไว้ในสัญญาทั้งส่วนที่1 และส่วนที่ 2 และในเรื่องที่ส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้นส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารในส่วนสัญญาสัมปทานเพิ่มขึ้นด้วยนั้นจะต้องมีการพูดคุยในรายละเอียด
สำหรับประเด็นการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต และส่วนต่อขยายจากแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่เดินรถฟรีมานาน ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเคที เป็นการตัดสินใจของกทม.ในเรื่องนี้ได้รับข้อมูลจากทางบีทีเอสซีเพื่อไปแจ้งกับผู้บริหารกทม.ว่า เมื่อมีการตัดสินใจกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไรแล้ว บีทีเอสซี จะต้องใช้เวลาในการปรับระบบต่างๆ ป้ายแจ้งต่าง ๆ ในสถานี ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ที่จะดำเนินการเตรียมระบบรองรับ ซึ่งจะนำข้อมูลให้ กทม.ต่อไป
สำหรับประเด็นการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต และส่วนต่อขยายจากแบริ่ง-สมุทรปราการที่เดินรถฟรีมานาน ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเคที เป็นการตัดสินใจของกทม.ในเรื่องนี้ได้รับข้อมูลจากทางบีทีเอสซี เพื่อไปแจ้งกับผู้บริหารกทม.ว่า เมื่อมีการตัดสินใจกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไรแล้ว บีทีเอสซีจะต้องใช้เวลาในการปรับระบบต่างๆ ป้ายแจ้งต่าง ๆ ในสถานี ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ที่จะดำเนินการเตรียมระบบรองรับ ซึ่งจะนำข้อมูลให้ กทม.ต่อไป
#จ่ายหนี้บีทีเอส
#กรุงเทพมหานคร
#รถไฟฟ้าสายสีเขียว