ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี เปิดเผยรายงานชื่อ “ตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับเอเชียและแปซิฟิก 2565 (The Key Indicators for Asia and the Pacific 2022) ระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องหยุดชะงักเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี
และอาจทำให้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากกว่าเดิมในการที่จะหลุดพ้นจากปัญหาความยากจน
สถานการณ์ของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการสูญเสียตำแหน่งงานอย่างมีนัยสำคัญ และจำกัดการเข้าถึงเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ทำให้เกิดความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำหรับนิยามความยากจนขั้นรุนแรงของเอดีบี คือ กลุ่มคนที่มีรายได้วันละน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์
นายอัลเบิร์ต พาร์ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี กล่าวว่า คนจนและคนอ่อนแอได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด และในขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว หลายคนอาจพบว่าการหลุดพ้นจากความยากจนนั้นยากยิ่งกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม เอดีบี คาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 ความยากจนขั้นรุนแรงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะลดลงสู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 1 ประชากรประมาณร้อยละ 25 มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายการก้าวขึ้นสู่ชนชั้นกลางเป็นอย่างน้อย
...
#เอดีบี
#วิกฤตโควิด